วันอาทิตย์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้ในกฎหมายหมิ่นฯ



บริบทสถานการณ์
ตัวเลขผู้ที่ถูกกล่าวหาและถูกดำเนินคดีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในระยะเวลาห้าถึงหกปีที่ผ่านมา ในระหว่างปี 2535 – 2547 ตัวเลขของคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่มีการฟ้องร้องกันในศาลเฉลี่ยแล้วมีน้อยกว่า 10 คดี ดังนั้นผลกระทบจากกฎหมายดังกล่าวจึงยังจำกัดอยู่ในวงแคบ แต่ผลการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ชี้ให้เห็นว่า ระหว่างปี 2548 – 2552 ตัวเลขของคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีมากถึง 547 คดี ที่ถูกนำไปพิจารณาคดีทั้งในระดับศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เฉลี่ยแล้วปีละ 109 คดี และมีที่ศาลมีคำตัดสินว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแล้วจำนวน247 คดี ในปี 2547 เพียงปีเดียวมีการดำเนินคดีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในระดับศาลชั้นต้นมากถึง 164 คดี ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเน้นย้ำให้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานนุภาพเป็นประเด็นที่ผู้คนในสังคมสามารถพูดคุย ถกเถียงได้อย่างเปิดเผย ด้วยหวังว่าจะมีทางออกในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากกฎหมายดังกล่าวในท้ายที่สุด

หลักการและเหตุผล
จุดประสงค์ของการริเริ่มการรณรงค์เพื่อความตระหนักรู้ในกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คือ การรวบรวมบุคคล องค์กร และเครือข่ายต่างๆ ที่มีความห่วงกังวลต่อปัญหาที่เกิดจากกฎหมายอาญามาตรา 112 และการบังคับใช้กฎหมาย ท่าทีของการรณรงค์ครั้งนี้คือ สร้างให้กฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นประเด็นที่ผู้คนในสังคมสามารถพูดคุย ถกเถียงได้อย่างเปิดเผย พวกเรามีความเห็นว่ากฎหมายอาญามาตรา 112 และการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเป็นปัจจัยคุกคามต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งสิทธิดังกล่าวเป็นกลไกที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อสังคมประชาธิปไตย ไม่ว่าบุคคลนั้นจะต้องการแก้ไข หรือยกเลิก หรือแม้แต่สนับสนุนกฎหมายดังกล่าวก็สามารถเข้าร่วมการรณรงค์เพื่อความตระหนักรู้ในกฎหมายอาญามาตรา 112 ได้ เพียงแต่บุคคลนั้นสนใจถึงผลกระทบที่ตามมาจากการใช้กฎหมายดังกล่าว

ชื่อภาษาไทยของการรณรงค์ครั้งนี้คือ          “มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้ในกฎหมายหมิ่นฯ”
และชื่อภาษาอังกฤษ คือ                            “Article 112: Awareness Campaign”

การรณรงค์จะเปิดตัวด้วยการแถลงรายชื่อบุคคลจากหลากหลายสาขาอาชีพทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ จำนวน 112 คน ซึ่งรวมถึง สื่อมวลชน แรงงาน นักกฎหมาย นักวิชาการ นักเรียน นักสิทธิมนุษยชน ศิลปิน ผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายดังกล่าวเกษตรกร ผู้ที่อยู่ในแวดวงทางศาสนา แพทย์ และเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยบุคคลทั้ง 112 คนนี้จะเป็นจุดเริ่มต้น อย่างไรก็ตามยินดีรับรายชื่อเพิ่มเติมจากผู้ที่เห็นพ้องแนวคิดว่า มาตรา 112 นั้นควรได้รับการถกเถียงกันอย่างเปิดเผย

วัตถุประสงค์ 
1. เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นฯ
2. เพื่อผลักดันให้เกิดการถกเถียง แลกเปลี่ยน และหาทางออกเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นฯ


รูปแบบกิจกรรมเบื้องต้น
เปิดตัวการรณรงค์ มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้ โดยขอจัดต่อจากเวทีวิชาการเรื่องกฎหมายหมิ่นฯของกลุ่มนิติราษฎร์ วันที่ 27 มีนาคม 2554 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ (เวลาจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง) ในงานดังกล่าวจะมีการแถลงรายชื่อบุคคล 112 คน หรือใครก็ตาม ที่ยินดีจะแสดงตนต่อสาธารณะว่าสนับสนุนการรณรงค์ในครั้งนี้ และอาจจะมีบุคคลผู้ร่วมลงชื่อบางคนที่ไม่สามารถเข้าร่วมงานในวันดังกล่าวได้ เราจึงขอเชิญให้ทุกท่านที่สามารถมาได้เข้าร่วมงาน ผู้ที่สามารถมาร่วมงานเปิดตัวได้จริงจะต้องจ่ายเงิน 300 บาทเพื่อเป็นทุนสนับสนุนการทำงาน และบุคคล 112 ท่านแรกที่เข้าร่วมการรณรงค์จะได้รับเสื้อยืดที่มีโลโก้ของการณรงค์เป็นที่ระลึก

 *** กรุณาแจ้งรายชื่อมาที่ article112lm@gmail.com 
 หมายเหตุ: 112 คนแรก ใช้เพื่อแสดงตัวตนในการเปิดตัว ไม่ปิดกั้นสำหรับคนที่สนใจจะเข้ามาร่วมในภายหลัง 


                              Article 112: Thai Lese Majeste Law Awareness Campaign
                                           (Article 112 Awareness Campaign)

Context:

The number of those accused and prosecuted on charges of lese majeste, Article 112 of the Thai criminal code, has shown a shocking increase over the past five to six years. From 1992 to 2004, there was less than an average of less 10 cases of lese majeste tried in Thai courts, and thus the law’s effect was limited to a rather narrow circle. Recent scholarship indicates that from 2005 to 2009 there were 547 cases of lese majeste sent to trial on the Court of First Instance, the Appeals Court, and the Supreme Court levels—an average of 109 cases per year—during which 274 judgments were handed down for lese majeste. In 2009, there were an all-time high 164 lese majeste cases tried in the Court of First Instance. It is therefore necessary for the issue of lese majeste to be highlighted and made into a public issue in the hope that eventually there will be a change in this law.

Rationale:

The purpose of establishing the Article 112 Lese Majeste Awareness Campaign is to bring together individuals, organizations, and networks concerned about problems caused by Article 112 and its use. The position of the Article 112 Campaign is simply to make Article 112 a public issue. We believe that Article 112 (and its use) poses a serious threat to the right of freedom of expression and as such it cripples a key mechanism necessary for any democratic society. Regardless of whether one is wanting to amend or abolish the law, or even whether one supports the law but is concerned by the effects of its use, all are welcome to join the Article 112 Awareness Campaign.

The Thai and English name of the campaign differs as one is aimed at a national audience while the other focuses on an international audience. The Thai name is essentially the “Article 112 Awareness Campaign.” In English, it is the “Article 112: Thai Lese Majeste Law Awareness Campaign.”

The campaign begins with signatures from 112 persons, both foreign and Thai, from a wide variety of professions and positions—those involved in the media and law, laborers, academics, students, human rights activists, artists, those affected by the law, agriculturalists, those involved in religion, doctors, police, and so on. These 112 would help kick-off the campaign, but the campaign will maintain a list of any who share the belief that Article 112 needs to be addressed publicly.

Campaign Objectives:

1. in order to build and disseminate knowledge and understanding about the lese majeste law
2. in order to encourage debate, exchange, and solutions posed by the lese majeste law and its use

Campaign Kick-Off:

The hope is to kick-off the Article 112 Awareness Campaign in conjunction with an academic forum planned by the Rule of Law Group on 27 March 2011 at the Thai Prajan campus of Thammasart University (time to be determined). The event will be used to make a public announcement of the names of the 112 “charter members” (and any others) who are willing to publicly show support for the campaign. As there may be some of the 112 charter members who cannot attend, we ask for the attendance of anyone who can come. Those actually attending will be asked to donate 300 baht to the effort, and the first 112 persons attending the event will receive tee-shirts showing the Article 112 Awareness Campaign logo. 

...............................................................................................................................
มาแอดใน FB กันได้ที่นี่ครับ http://www.facebook.com/pages/Article112-awareness-campaign/157348320988819
ผู้ร่วมรณรงค์แคมเปญเบื้องต้น 112 คน (ในนี้จะเป็นการชักชวนเพื่อนๆในหลังไมค์เพื่อเอาไปรวมกับรายชื่อจากสมาชิกท่านอื่นในที่ต่างๆที่จะร่วมกิจกรรมในวาระนี้ครับ)


ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
อีเมลล์ article112lm@gmail.com
สามารถติดตามกิจกรรมของเครือข่ายได้ที่: http://article112.blogspot.com/

----------------------------------------------
ชื่อ-สกุล สาขาอาชีพ

ผู้กำกับภาพยนตร์
อโนชา สุวิชากรพงศ์ ผู้กำกับภาพยนตร์
อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์
ลี ชาตะเมธีกุล ผู้กำกับภาพยนตร์
ธัญสก พันสิทธิวรกุล คนทำหนัง
วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ผู้กำกับภาพยนตร์
ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ ผู้กำกับภาพยนตร์

นักเขียน
คำสิงห์ ศรีนอก นักเขียน
คันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง นักเขียนอิสระ/อาจารย์พิเศษด้านภาพยนตร์ 
กานต์ ทัศนภักดิ์ เขียนหนังสือ ทำงานศิลปะ
เกียรติศักดิ์ ประทานัง พ่อบ้าน/นักเขียน/นักแปลอิสระ
ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักแปล/นักเขียน
พิมใจ จูกลิ่น (เดือนวาด พิมวนา) นักเขียน
ประกาย ปรัชญา กวี/นักเขียน
ดร.สันติภาพ คำสะอาด อาจารย์/นักเขียน/เจ้าของพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น
สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียน/นักวิชาการอิสระ
สมเจตน์  ไชยเกิด นักเขียน
สุลักษ์ ศิวรักษ์ นักคิด/นักเขียน
สุรักษ์ สุขเสวี นักแต่งเพลง/นักเขียน
สุริยะ ครุฑพันธุ์ นักเขียน
วัฒน์ วรรลยางกูร นักเขียน

นักสหภาพแรงงาน
ชัยยุทธ พันธุ์น้อย รองประธานสหภาพแรงงานฟูรูกาวา เม็ททอน ไทยแลนท์
ชุมพล ภูมิพันธ์ เลขานุการกลุ่มสหภาพแรงงานเบอร์ล่า/นายทะเบียนสหภาพแรงงานไทยอคิริคไฟเบอร์
จิตรา คชเดช นักสหภาพแรงงาน
ณัณปภัส แก้วทอง ประธานสหภาพแรงงานมอลลิเก้ เฮลแคร์
ประวร มาดี เลขาธิการสหภาพแรงงานไทยอคิริคไฟเบอร์/ฝ่ายจัดตั้งสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ
พรมมา ภูมิพันธ์ ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานเบอร์ล่า/ฝ่ายประชาสัมพันธ์สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ
ศิริชัย สิงห์ทิศ ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย
สมหวัง โพธิ์ทองคำ ฝ่ายคุ้มครองแรงงานและสวัสดิการสหภาพแรงงานไทยอคิริคไฟเบอร์
โสภณ ชัยสันต์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์สหภาพแรงงานฟูรูกาวา เม็ททอนไทยแลนท์
วิภา มัจฉาชาติ กลุ่มคนงาน Try Arm
เกศแก้ว มีศรี รองประธานสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย

แพทย์/ทันตแพทย์
นพ.กิติภูมิ จุฑาสมิต แพทย์ชนบท
นพ.พงษ์ศักดิ์ ภูสิทธิ์สกุล แพทย์
ธีรวัฒน์ ทัศนภิรมย์ ทันตแพทย์/อาจารย์มหาวิทยาลัย
นักกฎหมาย/ทนายความ  
อานนท์ นำภา ทนายความ  สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์
ภาวิณี ชุมศรี ทนายความ
ประเวศ ประภานุกูล ทนายความ
ศิริกาญจน์  เจริญศิริ นักกฎหมาย
สมสกุล ศรีเมธากุล ทนายความ
เยาวลักษ์  อนุพันธุ์ ทนายความ
ยูฮานี  เจ๊ะกา นักกฎหมาย

นักวิชาการ 
อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว อาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ อาจารย์มหาวิทยาลัย
เอกรินทร์ ต่วนศิริ นักวิจัยอิสระ
เก่งกิจ กิตติเรียงลาภ นักวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร อาจารย์วิทยาลัยสหวิทยาการ ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
นฤมล ทับจุมพล อาจารย์มหาวิทยาลัย
ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี อาจารย์มหาวิทยาลัย
พฤกษ์ เถาถวิล นักวิชาการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สมชาย ปรีชาศิลปกุล นักวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ทรงยศ แววหงส์ นักวิชาการ
ศรีประภา เพชรมีศรี ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
สุดา รังกุพันธุ์ อาจารย์มหาวิทยาลัย
ดร.ธงชัย วินิจจะกุล ศาสตราจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน
อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการสื่อสารมวลชน
เวียงรัฐ เนติโพธิ์ นักวิชาการ
วันรัก สุวรรณวัฒนา นักวิชาการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สื่อมวลชน
ชัยธวัช ตุลาธน กองบรรณาธิการ สนพ. ฟ้าเดียวกัน 
จีรนุช เปรมชัยพร นักกิจกรรม/สื่อมวลชน
ชมวรรณ วีรวรวิทย์ สื่อมวลชน/นักเขียน/นักศึกษาปริญญาเอก
ชุติมา สมบูรณ์สุข ผู้ดูแลเนื้อหาเว็บไซด์
ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณาธิการประชาไท
กฤตวิทย์ หริมเทพาธิป นักเขียน/สื่อมวลชน 
นวลน้อย ธรรมเสถียร นักข่าวอิสระ
นิธินันท์ ยอแสงรัตน์ สื่อมวลชน
พงษ์เลิศ พงษ์วนานต์ ประชาไท
ประวิตร โรจนพฤกษ์ นักข่าว
ปรียาลักษณ์ บุญมั่น สื่อมวลชนอิสระ
ทวีพร คุ้มเมธา นักข่าว
ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ นักเขียน/สื่อมวลชน 

วิศวกร/สถาปนิก 
อภิวัฒน์ แสงพัทธสีมา สถาปนิก/นักทำหนังสารคดีอิสระ
อภิรักษ์ วรรณสาธพ วิศวกร
เบญจมาส วินิจจะกูล สถาปนิก
โชคชัย วิทยาทอง วิศวกร
ปรมัษฐ์ ช่างสุพรรณ วิศวกร

นักศึกษา 
ชาตรี สมนึก นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นภัทร สาเศียร นักศึกษา
นิธิวัต วรรณศิริ นักศึกษา/ผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรา112
พันธุ์ภูมิ ผุดผ่อง นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/ กลุ่มประชาคมจุฬาฯเพื่อประชาชน
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ นักศึกษาปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาฯ/ ผู้ช่วยประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต
ปราบ เลาหะโรจนพันธ์ นักศึกษา คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ม.ธรรมศาสตร์
ปราชญ์ ปัญจคุณาธร นักศึกษาวิชาปรัชญา รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด
ปฤณ เทพนรินทร์ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
ทิวสน สีอุ่น นักศึกษาปริญญาโท
ธนาวิ โชติประดิษฐ์ นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยลอนดอน

ศิลปิน 
ชัยศิริ จิวะรังสรรค์ ศิลปิน
อ้อมขวัญ เวชยชัย นักวาดภาพประกอบหนังสือเด็ก
ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์   นักเขียนอิสระ/นักออกแบบ
นันทพล อาชวาคม อาชีพอิสระ
ศุภวุฒิ ศรีมหาราชา ครูดนตรี
ธีรกิจ วิจิตรอนันต์กุล  ช่างภาพอิสระ
ธรัญญา สัตตบุศย์ นักพากย์
อ้อมขวัญ เวชยชัย นักวาดภาพประกอบหนังสือเด็ก
ศุราวุธ ดรุณวัติ นักออกแบบอิสระ/อาจารย์มหาวิทยาลัย

ประชาชน
อัญญกาญ จีระอัญการ ธุรกิจส่วนตัว/นักออกแบบอิสระ/นักเขียน
เนติ วิเชียรแสน คนทำหนังโฆษณา/ช่างภาพ
อธิคม จีระไพโรจน์กุล พนักงานบริษัทเอกชน 
จิระยุทธ คงหิ้น พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
จอมพจน์ เกษมรุ่งชัยกิจ ผู้ประกอบการ
ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล นักโทษคดี 112
กิตติกา บุญมาไชย รับราชการ 
นัชญ์ ณัยนันท์ รับจ้างทั่วไป
นีรนุช เนียมทรัพย์ ประชาชน
นันทพล อาชวาคม อาชีพอิสระ
พัลลภ เขมะพรรคพงษ์ นักธุรกิจ
พรเทพ สงวนถ้อย รับจ้างทั่วไป
พันธุ์ศักดิ์ ศรีเทพ ประชาชน
ศรายุธ ตั้งประเสริฐ ประชาชน
ศุราวุธ ดรุณวัติ นักออกแบบอิสระ/อาจารย์มหาวิทยาลัย
ตากวาง สุขเกษม รับจ้างอิสระ
เทวฤทธิ์ มณีฉาย ประชาชน
อัญชลี มณีโรจน์ ประชาชน
วาทินี ชัยถิรสกุล อาชีพอิสระ
วุฒิกร แสงรุ่งเรือง ประชาชน
จักรพันธ์ บริรักษ์ นักจัดรายการวิทยุ
ชนม์รัศมิ์   เกษโกวิท ประชาชน

นักกิจกรรม/นักสิทธิมนุษยชน
อรชพร นิมิตกุลพร นักสิทธิมนุษยชน
บารมี ชัยรัตน์ นักพัฒนาเอกชน
ชัยวัฒน์ ตระการรัตน์สันติ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
เอกชัย ปิ่นแก้ว นักสิทธิมนุษยชน/นักเขียน/นักศึกษาปริญญาเอก
จอน  อึ๊งภากรณ์ นักพัฒนาสังคม/อดีต ส.ว. กทม.
จรรยา ยิ้มประเสริฐ กลุ่มปฏิบัติการประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย
ขวัญระวี วังอุดม นักสิทธิมนุษยชน
กรณ์อุมา พงษ์น้อย กลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก-กุยบุรี
พัชรี แซ่เอี้ยว เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน
พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ คนทำงานองค์กรพัฒนาเอกชน
ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ นักสิทธิมนุษยชน
พรเพ็ญ  คงขจรเกียรติ นักสิทธิมนุษยชน
พรพิศ ผักไหม นักต่อสู้สิทธิมนุษยชน/กิจการเพื่อสังคม
ศราวุฒิ ประทุมราช คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล
สุธารี วรรณศิริ นักกิจกรรมสิทธิมนุษยชน
ธีระพล คุ้มทรัพย์ นักเคลื่อนไหวฝึกหัด
วสันต์ พานิช ประธานเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน/ อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ยิ่งชีพ อัชชานนท์ นักพัฒนาเอกชน

นักวิชาการต่างประเทศ
แอนดรูว์ วอล์คเกอร์ นักวิจัยอาวุโส มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย
ดร.ชาร์ล คายส์ ศาสตราจารย์ภาควิชามานุษวิทยา มหาวิทยาลัยวอชิงตัน
ซี.เจ. ฮิงกิ กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย 
เครก เจย์ เรย์โนลด์ นักวิชาการ
เดวิด สเตรคฟัส นักวิชาการอิสระ
เอว่า แฮนน์สัน อาจารย์อาวุโส มหาวิทยาลัยสต็อกโฮล์ม
เควิน เฮวินสัน นักวิชาการ ม.นอร์ธแคโรไลน่า-แชฟเพ่นฮิลล์
ไมเคิล โอ คอนเนอรส์ นักวิชาการ มหาวิทยาลัยลา โทรบ ออสเตรเลีย
ไมเคิล มอนเตซาโน นักวิจัย มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์
ราเชล วี. แฮริสัน นักวิชาการ มหาวิทยาลัยลอนดอน
ธีรเรอิล์ล์ ฮาเบอร์คอรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการเปลี่ยนแปลงสังคมและการเมือง, มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย