เรียน สมาชิก เฟสบุ๊ค ของผม, สื่อมวลชน, นักวิชาการ และผู้สนใจทุกท่าน
วันพรุ่งนี้ อาทิตย์ที่ 24 เมษายน 2554 เวลา 14.00 น. ที่ห้อง แอลที 1 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จะมีการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน โดยผม, คณะนักวิชาการ "นิติราษฎร์" และนักวิชาการท่านอื่น เกี่ยวกับข้อกล่าวหา "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" ที่มีต่อผม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับการอภิปรายเรื่อง "สถาบันกษัตริย์ รัฐธรรมนูญ" เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2553 จึงเรียนเชิญทุกท่านเข้ารับฟังการแถลงข่าวดังกล่าว
ขอแสดงความนับถือ
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.enlightened-jurists.com/blog/31
นิติราษฎร์ สันติประชาธรรม นักวิชาการอื่น ๆ และดร. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล แถลงข่าวเรื่อง
"ผลกระทบต่อเสรีภาพทางวิชาการ : กรณีการอภิปรายเรื่อง สถาบันกษัตริย์ – รัฐธรรมนูญ – ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2553 ของ ดร. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล"
วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน 2554 เวลา 14.00 น. ณ ห้องแอลที 1 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
จึงขอเรียนเชิญสื่อมวลชน และผู้สนใจ ร่วมรับฟังการแถลงข่าวในวันและเวลาดังกล่าว.
วันเสาร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2554
คลิป เสวนา เรื่อง กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดย กลุ่มนิติราษฎร์
เสวนา เรื่อง กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดย กลุ่มนิติราษฎร์
วันอาทิตย์ที่ 27 มีนาคม 2554 ณ ห้อง LT 1 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
1. วรเจตน์ ภาคีรัตน์
2. ธีระ สุธีวรางกูร
3. สาวตรี สุขศรี
4. ปิยบุตร แสงกนกกุล
15.00 -- 15.30 แถลงการณ์ข้อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดย กลุ่มนิติราษฎร์
15.30 -- 16.30 เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น (ครั้งที่ 1)
16.30 -- 18.00 เวที มาตรา 112 : รณรงค์เพื่อความตื่นรู้ในกฎหมายหมิ่นฯ โดย กลุ่มรณรงค์ 112
สาวตรี สุขศรี
วรเจตน์ ภาคีรัตน์
ปิยบุตร แสงกนกกุล
สาวตรี สุขศรี
ข้อเสนอ นิติราษฎร์
ประจิน
อ.สมศักดิ์
ช่วงแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ถาม-ตอบว่าด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
ถาม-ตอบว่าด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
โดย โครงการมาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้ในกฎหมายหมิ่นฯ
Q1 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 คืออะไร?
A1 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือที่เรียกกันว่า “กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ระบุว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย (1) พระมหากษัตริย์ (2) พระราชินี (3) รัชทายาท หรือ (4) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”
Q2 กฎหมายนี้มีความเป็นมาอย่างไร?
A2 ในสมัยรัชกาลที่ห้า มีพระราชกำหนดลักษณะหมิ่นประมาทด้วยการพูดหรือเขียนถ้อยคำเท็จออกโฆษณาการ รศ. 118 มาตรา 4 ซึ่งระบุโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับเป็นเงินไม่เกิน 1,500 บาท หรือทั้งจำและปรับ ต่อมาได้มีการจัดทำประมวลกฎหมายอาญาขึ้น ชื่อ "กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127" มาตรา 98 ระบุโทษไม่เกิน 7 ปี (ไม่มีอัตราโทษขั้นต่ำ) และปรับไม่เกิน 5,000 บาทด้วย หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี 2500 ได้จัดทำประมวลกฎหมายขึ้นใหม่ ชื่อ "ประมวลกฎหมายอาญา" ในมาตรา 112 กำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี (ไม่มีโทษปรับ) ต่อมาภายหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาโดยคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 41 โดยเพิ่มโทษเป็นโทษจำคุกขั้นต่ำ 3 ปี ไม่เกิน 15 ปี(กำหนดโทษขั้นต่ำเอาไว้ด้วย) จะเห็นได้ว่ากำหนดอัตราโทษที่สูงมากเช่นนี้ ขัดต่อหลักประชาธิปไตย ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความพอสมควรแก่เหตุ
Q3 ประเทศอื่นๆมีกฎหมายที่คุ้มครองกษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐหรือไม่?
A3 ประเทศต่างๆ เช่น เยอรมนี นอร์เวย์ สวีเดน เนเธอร์แลนด์ สเปน จอร์แดน เดนมาร์ก ล้วนมีมาตราที่ระบุให้กษัตริย์อยู่ในสถานะที่ละเมิดหรือกล่าวโทษไม่ได้ แต่ความแตกต่างของกฎหมายของไทยกับประเทศเหล่านั้นส่วนหนึ่งอยู่ที่อัตราโทษและความถี่ในการฟ้องร้องคดี กล่าวคือในขณะที่ ในศตวรรษที่ 21 กฎหมายหมิ่นฯของประเทศไทยมีบทลงโทษที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศเหล่านั้น โดยอัตราโทษที่ต่ำที่สุดของไทย (3 ปี) เท่ากับอัตราโทษที่สูงที่สุดของจอร์แดน และโทษขั้นสูงที่สุดของไทยมากกว่าประเทศส่วนมากในภูมิภาคยุโรปถึงสามเท่า ยกตัวอย่างเช่น ประเทศสเปนจำคุก 6 เดือน ถึง 2 ปี นอร์เวย์ ไม่กำหนดโทษขั้นต่ำและโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 5 ปี เนเธอร์แลนด์ จำคุกไม่เกิน 5 ปี และมีโทษปรับ สวีเดนจำคุกไม่เกิน 6 ปี ในขณะที่ความถี่ในการฟ้องร้องคดีหมิ่นฯในประเทศเยอรมนีเคยมีมากเป็นอันดับหนึ่งในศตวรรษที่ 19 - 20 หรือสเปนและญี่ปุ่นเมื่อ 70-80 ปีที่แล้วมีการฟ้องร้องคดีหมิ่นฯจำนวนมากเมื่อเทียบกับไทยในสมัยเดียวกัน แต่จำนวนคดีหมิ่นฯในปัจจุบันของไทยกลับแซงหน้าเป็นอันดับที่หนึ่ง
Q4 สถานการณ์คดีหมิ่นฯของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไร?
A4 ตัวเลขผู้ที่ถูกกล่าวหาและถูกดำเนินคดีข้อหาหมิ่นฯ เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในระยะเวลาที่ผ่านมา ในระหว่างปี 2535 – 2547 ตัวเลขของคดีหมิ่นฯที่มีการฟ้องร้องกันในศาลเฉลี่ยแล้วมีน้อยกว่า 10 คดี ดังนั้นผลกระทบจากกฎหมายดังกล่าวจึงยังจำกัดอยู่ในวงแคบ แต่ระหว่างปี 2548 – 2552 ตัวเลขของคดีหมิ่นฯมีมากถึง 547 คดี ที่ถูกนำไปพิจารณาคดีทั้งในระดับศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เฉลี่ยแล้วปีละ 109 คดี และมีที่ศาลมีคำตัดสินว่าเป็นการหมิ่นฯแล้วจำนวน247 คดี ในปี 2552 เพียงปีเดียวมีการดำเนินคดีข้อหาหมิ่นฯในระดับศาลชั้นต้นมากถึง 164 คดี
นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มที่เจ้าหน้าที่รัฐตั้งข้อหาหมิ่นฯควบคู่ไปกับพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 15 และ16 ผลการศึกษาสถิติการดำเนินคดีตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ระหว่างปี 2550 – 2553 พบว่า คดีที่เกี่ยวข้องกับข้อหาหมิ่นฯมีมากถึง 31 คดี ในจำนวนนี้เป็นคดีที่ถูกตั้งข้อหาควบคู่กับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ถึง 26 คดีและยังมีคดีหมิ่นฯที่อยู่ในชั้นพนักงานสอบสวนอีกอย่างน้อย 997 คดี จากสถิติข้างต้นจะเห็นได้ว่ากฎหมายหมิ่นฯถูกนำมาใช้มากในช่วงที่มีความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรง
Q5. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112มีปัญหาอย่างไร?
A5. ปัญหาของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112มีหลายประการ ได้แก่
1.การตีความ คำว่า "ดูหมิ่น" เป็นคำที่ไม่มีนิยามชัดเจนในกฎหมาย จึงขัดต่อหลักการพื้นฐานของกฎหมายที่มีโทษอาญาที่ควรจะตีความให้แคบ ส่งผลให้กฎหมายมาตรานี้ไม่มีความชัดเจนแน่นอน ประชาชนไม่สามารถทราบได้เลยว่า การกระทำใดของตนที่ทำไปแล้วจะเป็นความผิดบ้าง
2. อัตราโทษของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำคุกขั้นต่ำ 3-15 ปี ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักความพอสมควรแก่เหตุในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่สิทธิและเสรีภาพของบุคคลมีความสำคัญ
3. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112ไม่มีข้อยกเว้นความผิด กล่าวคือ ผู้ที่แม้แสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์บุคคลโดยสุจริตใจ ไม่สามารถอ้างเหตุใดๆ เพื่อไม่ต้องรับผิดได้ อีกทั้งไม่เปิดโอกาสให้ผู้กล่าววิพากษ์วิจารณ์พิสูจน์ว่าสิ่งที่ตนกล่าวนั้นเป็นความจริงและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมเพื่อขอให้ยกเว้นโทษ
4. กฎหมายดังกล่าวเปิดช่องให้ใครก็ได้กล่าวหาใครก็ได้ว่า “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ต่างจากกฎหมายหมิ่นประมาททั่วไปที่เฉพาะผู้เสียหายเท่านั้นที่จะดำเนินการฟ้องร้องได้ จึงกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ใช้กลั่นแกล้งกันได้ง่าย
5. แนวทางการบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นมาตรฐานและไม่มีความชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาออกหมายจับแทนหมายเรียก การห้ามประกันตัว ซึ่งเป็นไปตามแรงกดดันทางสังคม ทำให้ส่งผลกระทบต่อสิทธิของผู้ต้องหาที่ต้องได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์
6. กระบวนการพิจารณาคดีทางกฎหมายมักเป็นไปโดยลับและรวบรัดขัดต่อหลักกระบวนการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม โดยคดีดังกล่าวถูกมองว่าส่งกระทบต่อความมั่นคงของชาติ อีกทั้งสื่อมวลชนไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาของข้อความที่ถูกกล่าวหาโดยละเอียดได้ จึงปิดโอกาสที่ให้สังคมมีส่วนร่วมในการวินิจฉัย
Q6 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างไรบ้าง?
A6 ปิดกั้นการแสดงออกทางความคิดเห็นโดยสุจริตในประเด็นสาธารณะที่เกี่ยวพันกับราชการแผ่นดิน หรือพระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ นอกจากนั้น อัตราโทษที่สูงและความไม่มีมาตรฐานในการบังคับใช้กฎหมายยังสร้างบรรยากาศความหวาดกลัวและการเลือกที่จะเงียบของคนในสังคม ทั้งยังถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งทางการเมือง ที่สำคัญยังส่งผลกระทบไปสู่การใช้ชีวิตประจำวันของผู้คน ยกตัวอย่าง กรณี“ขบวนการล่าแม่มดออนไลน์” ซึ่งเป็นกระบวนการนอกกฎหมายในการพิพากษาบุคคลที่มีความคิดเห็นแตกต่าง โดยการนำข้อมูลส่วนตัวของบุคคลนั้นและ/หรือครอบครัวมาเผยแพร่เพื่อให้ผู้อื่นต่อว่า หรือแม้กระทั่งข่มขู่ทำร้ายถึงชีวิต
Q7 ดังนั้นควรหาทางออกอย่างไร?
A7 ที่ผ่านมา ทั้งผู้สนับสนุนและคัดค้านกฎหมายนี้ต่างเห็นพ้องกันในเบื้องต้นว่า กฎหมายนี้ก่อให้เกิดผลกระทบกับประชาชนในวงกว้าง.... ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นฯอย่างรอบด้าน และส่งเสริมให้หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาถกเถียงในทางสาธารณะเพื่อหาทางออกร่วมกัน
โดย โครงการมาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้ในกฎหมายหมิ่นฯ
Q1 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 คืออะไร?
A1 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือที่เรียกกันว่า “กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ระบุว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย (1) พระมหากษัตริย์ (2) พระราชินี (3) รัชทายาท หรือ (4) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”
Q2 กฎหมายนี้มีความเป็นมาอย่างไร?
A2 ในสมัยรัชกาลที่ห้า มีพระราชกำหนดลักษณะหมิ่นประมาทด้วยการพูดหรือเขียนถ้อยคำเท็จออกโฆษณาการ รศ. 118 มาตรา 4 ซึ่งระบุโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับเป็นเงินไม่เกิน 1,500 บาท หรือทั้งจำและปรับ ต่อมาได้มีการจัดทำประมวลกฎหมายอาญาขึ้น ชื่อ "กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127" มาตรา 98 ระบุโทษไม่เกิน 7 ปี (ไม่มีอัตราโทษขั้นต่ำ) และปรับไม่เกิน 5,000 บาทด้วย หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในปี 2500 ได้จัดทำประมวลกฎหมายขึ้นใหม่ ชื่อ "ประมวลกฎหมายอาญา" ในมาตรา 112 กำหนดโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี (ไม่มีโทษปรับ) ต่อมาภายหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาโดยคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับที่ 41 โดยเพิ่มโทษเป็นโทษจำคุกขั้นต่ำ 3 ปี ไม่เกิน 15 ปี(กำหนดโทษขั้นต่ำเอาไว้ด้วย) จะเห็นได้ว่ากำหนดอัตราโทษที่สูงมากเช่นนี้ ขัดต่อหลักประชาธิปไตย ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของความพอสมควรแก่เหตุ
Q3 ประเทศอื่นๆมีกฎหมายที่คุ้มครองกษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐหรือไม่?
A3 ประเทศต่างๆ เช่น เยอรมนี นอร์เวย์ สวีเดน เนเธอร์แลนด์ สเปน จอร์แดน เดนมาร์ก ล้วนมีมาตราที่ระบุให้กษัตริย์อยู่ในสถานะที่ละเมิดหรือกล่าวโทษไม่ได้ แต่ความแตกต่างของกฎหมายของไทยกับประเทศเหล่านั้นส่วนหนึ่งอยู่ที่อัตราโทษและความถี่ในการฟ้องร้องคดี กล่าวคือในขณะที่ ในศตวรรษที่ 21 กฎหมายหมิ่นฯของประเทศไทยมีบทลงโทษที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศเหล่านั้น โดยอัตราโทษที่ต่ำที่สุดของไทย (3 ปี) เท่ากับอัตราโทษที่สูงที่สุดของจอร์แดน และโทษขั้นสูงที่สุดของไทยมากกว่าประเทศส่วนมากในภูมิภาคยุโรปถึงสามเท่า ยกตัวอย่างเช่น ประเทศสเปนจำคุก 6 เดือน ถึง 2 ปี นอร์เวย์ ไม่กำหนดโทษขั้นต่ำและโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 5 ปี เนเธอร์แลนด์ จำคุกไม่เกิน 5 ปี และมีโทษปรับ สวีเดนจำคุกไม่เกิน 6 ปี ในขณะที่ความถี่ในการฟ้องร้องคดีหมิ่นฯในประเทศเยอรมนีเคยมีมากเป็นอันดับหนึ่งในศตวรรษที่ 19 - 20 หรือสเปนและญี่ปุ่นเมื่อ 70-80 ปีที่แล้วมีการฟ้องร้องคดีหมิ่นฯจำนวนมากเมื่อเทียบกับไทยในสมัยเดียวกัน แต่จำนวนคดีหมิ่นฯในปัจจุบันของไทยกลับแซงหน้าเป็นอันดับที่หนึ่ง
Q4 สถานการณ์คดีหมิ่นฯของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไร?
A4 ตัวเลขผู้ที่ถูกกล่าวหาและถูกดำเนินคดีข้อหาหมิ่นฯ เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในระยะเวลาที่ผ่านมา ในระหว่างปี 2535 – 2547 ตัวเลขของคดีหมิ่นฯที่มีการฟ้องร้องกันในศาลเฉลี่ยแล้วมีน้อยกว่า 10 คดี ดังนั้นผลกระทบจากกฎหมายดังกล่าวจึงยังจำกัดอยู่ในวงแคบ แต่ระหว่างปี 2548 – 2552 ตัวเลขของคดีหมิ่นฯมีมากถึง 547 คดี ที่ถูกนำไปพิจารณาคดีทั้งในระดับศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เฉลี่ยแล้วปีละ 109 คดี และมีที่ศาลมีคำตัดสินว่าเป็นการหมิ่นฯแล้วจำนวน247 คดี ในปี 2552 เพียงปีเดียวมีการดำเนินคดีข้อหาหมิ่นฯในระดับศาลชั้นต้นมากถึง 164 คดี
นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มที่เจ้าหน้าที่รัฐตั้งข้อหาหมิ่นฯควบคู่ไปกับพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 15 และ16 ผลการศึกษาสถิติการดำเนินคดีตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ระหว่างปี 2550 – 2553 พบว่า คดีที่เกี่ยวข้องกับข้อหาหมิ่นฯมีมากถึง 31 คดี ในจำนวนนี้เป็นคดีที่ถูกตั้งข้อหาควบคู่กับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ถึง 26 คดีและยังมีคดีหมิ่นฯที่อยู่ในชั้นพนักงานสอบสวนอีกอย่างน้อย 997 คดี จากสถิติข้างต้นจะเห็นได้ว่ากฎหมายหมิ่นฯถูกนำมาใช้มากในช่วงที่มีความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรง
Q5. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112มีปัญหาอย่างไร?
A5. ปัญหาของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112มีหลายประการ ได้แก่
1.การตีความ คำว่า "ดูหมิ่น" เป็นคำที่ไม่มีนิยามชัดเจนในกฎหมาย จึงขัดต่อหลักการพื้นฐานของกฎหมายที่มีโทษอาญาที่ควรจะตีความให้แคบ ส่งผลให้กฎหมายมาตรานี้ไม่มีความชัดเจนแน่นอน ประชาชนไม่สามารถทราบได้เลยว่า การกระทำใดของตนที่ทำไปแล้วจะเป็นความผิดบ้าง
2. อัตราโทษของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำคุกขั้นต่ำ 3-15 ปี ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักความพอสมควรแก่เหตุในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่สิทธิและเสรีภาพของบุคคลมีความสำคัญ
3. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112ไม่มีข้อยกเว้นความผิด กล่าวคือ ผู้ที่แม้แสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์บุคคลโดยสุจริตใจ ไม่สามารถอ้างเหตุใดๆ เพื่อไม่ต้องรับผิดได้ อีกทั้งไม่เปิดโอกาสให้ผู้กล่าววิพากษ์วิจารณ์พิสูจน์ว่าสิ่งที่ตนกล่าวนั้นเป็นความจริงและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมเพื่อขอให้ยกเว้นโทษ
4. กฎหมายดังกล่าวเปิดช่องให้ใครก็ได้กล่าวหาใครก็ได้ว่า “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ต่างจากกฎหมายหมิ่นประมาททั่วไปที่เฉพาะผู้เสียหายเท่านั้นที่จะดำเนินการฟ้องร้องได้ จึงกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่ใช้กลั่นแกล้งกันได้ง่าย
5. แนวทางการบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นมาตรฐานและไม่มีความชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาออกหมายจับแทนหมายเรียก การห้ามประกันตัว ซึ่งเป็นไปตามแรงกดดันทางสังคม ทำให้ส่งผลกระทบต่อสิทธิของผู้ต้องหาที่ต้องได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์
6. กระบวนการพิจารณาคดีทางกฎหมายมักเป็นไปโดยลับและรวบรัดขัดต่อหลักกระบวนการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม โดยคดีดังกล่าวถูกมองว่าส่งกระทบต่อความมั่นคงของชาติ อีกทั้งสื่อมวลชนไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาของข้อความที่ถูกกล่าวหาโดยละเอียดได้ จึงปิดโอกาสที่ให้สังคมมีส่วนร่วมในการวินิจฉัย
Q6 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112ส่งผลกระทบต่อสังคมอย่างไรบ้าง?
A6 ปิดกั้นการแสดงออกทางความคิดเห็นโดยสุจริตในประเด็นสาธารณะที่เกี่ยวพันกับราชการแผ่นดิน หรือพระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ นอกจากนั้น อัตราโทษที่สูงและความไม่มีมาตรฐานในการบังคับใช้กฎหมายยังสร้างบรรยากาศความหวาดกลัวและการเลือกที่จะเงียบของคนในสังคม ทั้งยังถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งทางการเมือง ที่สำคัญยังส่งผลกระทบไปสู่การใช้ชีวิตประจำวันของผู้คน ยกตัวอย่าง กรณี“ขบวนการล่าแม่มดออนไลน์” ซึ่งเป็นกระบวนการนอกกฎหมายในการพิพากษาบุคคลที่มีความคิดเห็นแตกต่าง โดยการนำข้อมูลส่วนตัวของบุคคลนั้นและ/หรือครอบครัวมาเผยแพร่เพื่อให้ผู้อื่นต่อว่า หรือแม้กระทั่งข่มขู่ทำร้ายถึงชีวิต
Q7 ดังนั้นควรหาทางออกอย่างไร?
A7 ที่ผ่านมา ทั้งผู้สนับสนุนและคัดค้านกฎหมายนี้ต่างเห็นพ้องกันในเบื้องต้นว่า กฎหมายนี้ก่อให้เกิดผลกระทบกับประชาชนในวงกว้าง.... ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นฯอย่างรอบด้าน และส่งเสริมให้หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาถกเถียงในทางสาธารณะเพื่อหาทางออกร่วมกัน
แถลงการณ์ Article 112: Awareness Campaign
แถลงการณ์
โครงการ “มาตรา 112 : รณรงค์เพื่อความตื่นรู้ในกฎหมายหมิ่นฯ”
Article 112 : Awareness Campaign
(27 มีนาคม 2554) วันนี้ ประชาชนอย่างน้อย 112 คน ซึ่งประกอบไปด้วย บุคคล หลากหลายสาขาอาชีพ เช่น นักเขียน ศิลปิน นักสหภาพแรงงาน นักวิชาการ สื่อมวลชน นักกฎหมาย ข้าราชการ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้” หรือ Article 112: Awareness Campaign โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชิญชวนให้สังคมไทย ร่วมกันสร้างพื้นที่สนทนาเกี่ยวกับการใช้กฎหมาย หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท หรือที่เรียกกันว่า “กฎหมายหมิ่นฯ”
ชื่อโครงการดังกล่าวมาจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ระบุว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”
อย่าง ไรก็ดี มักพบว่าการฟ้องคดีหมิ่นฯ หรือที่เรียกกันว่า ข้อหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” มักพบในความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า ข้อหานี้มีความ ร้ายแรง ทั้งร้ายแรงด้วยอัตราโทษ และร้ายแรงเพราะมักถือว่าผู้ถูกกล่าวหามีความ “ไม่จงรักภักดี” ต่อพระมหากษัตริย์ และ เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ ซึ่งสามารถตีความได้อย่างกว้างขวาง เพราะกฎหมายถูกนำไปไว้ในหมวด ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร อันเปิดช่องให้ใครก็ได้สามารถแจ้งความกล่าวโทษให้ดำเนินคดีข้อหานี้ได้ ส่งผลให้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพง่ายต่อการถูกใช้เป็นอาวุธเพื่อกลั่นแกล้งทางการเมือง
โครงการมาตรา 112 : รณรงค์เพื่อความตื่นรู้ฯ ได้ทำการศึกษาแล้วพบว่า มีการกล่าวหาและจับกุมผู้ต้องหา ในคดีหมิ่นฯ มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก กล่าวคือ จากเดิมที่มีคดีเฉลี่ยราว 10 คดีต่อปี แต่นับแต่ปี 2548-2552 กลับมีคดีจำนวนมากถึง 547 คดี ซึ่งถือเป็นจำนวนที่สูงมากอย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ไทย
ทั้งนี้ยังพบว่า ในหลายคดีผู้ถูกกล่าวหาถูกฟ้องเพราะวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ หลายคดีถูกฟ้องเพราะเป็นตัวกลางทางอินเทอร์เน็ต หรือเป็นสื่อมวลชนที่นำเสนอข่าวตามหน้าที่ แสดงให้เห็นว่ามีการใช้กฎหมายและตีความกฎหมายไปในลักษณะที่กว้างขวาง ผิดต่อหลักการของกฎหมายอาญา ที่ต้องตีความอย่างเคร่งครัด ระหว่างกรณีการวิพากษ์วิจารณ์กับการดูหมิ่นนั้นแตกต่างกันอย่างไร การหมิ่นประมาทกับการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต แตกต่างกันอย่างไร ส่งผลให้สังคมไทยโดยรวมตกอยู่ในความหวาดกลัวต่อการแสดงความคิดเห็นเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ในที่สาธารณะ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่มีหน้าที่รักษากฎหมายหวาดกลัว ที่จะอนุญาตให้ผู้ถูกจับกุมได้รับสิทธิในการประกันตัว หลายคดีที่เจ้าหน้าที่รัฐโน้มน้าวให้ผู้ต้องหาทำเรื่องให้เงียบโดยไม่ให้แจ้งข้อมูลกับสื่อมวลชน ทั้งยังโน้มน้าวให้ยอมรับสารภาพโดยข่มขู่ว่าคดีลักษณะนี้สู้ยากแต่หากยอมรับก็จะได้ลดโทษกึ่งหนึ่ง หลายครั้งการดำเนินคดีและกระบวนพิจารณาเป็นไปโดยลับ ทำให้ไม่อยู่ในวิสัยที่จะตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของกระบวนการได้
โครงการ มาตรา112 : รณรงค์เพื่อความตื่นรู้ฯ เห็นถึงความละเอียดอ่อนของความสัมพันธ์ของกฎหมายมาตรานี้กับสังคมไทย และด้วยเหตุนี้ สมาชิกของเครือข่ายจึงมุ่งรณรงค์ในเป้าหมาย 3 ประการ ได้แก่ หนึ่ง การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมาตราว่าด้วยพระมหากษัตริย์ สอง ส่งเสริมให้เกิดการถกเถียงถึงผลกระทบที่รอบด้านจากกฎหมายหมิ่นฯ เป็นประเด็นสาธารณะ และประการสุดท้าย เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มและผู้สนใจร่วมกันหาทางออก บนพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในระบอบประชาธิปไตย โดยมีบุคคลต่างตามรายชื่อแนบท้ายนี้ร่วมลงนามในแถลงการณ์
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
อีเมลล์ article112lm@gmail.com
สามารถติดตามกิจกรรมของเครือข่ายได้ที่: http://article112.blogspot.com/
โครงการ “มาตรา 112 : รณรงค์เพื่อความตื่นรู้ในกฎหมายหมิ่นฯ”
Article 112 : Awareness Campaign
(27 มีนาคม 2554) วันนี้ ประชาชนอย่างน้อย 112 คน ซึ่งประกอบไปด้วย บุคคล หลากหลายสาขาอาชีพ เช่น นักเขียน ศิลปิน นักสหภาพแรงงาน นักวิชาการ สื่อมวลชน นักกฎหมาย ข้าราชการ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้” หรือ Article 112: Awareness Campaign โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชิญชวนให้สังคมไทย ร่วมกันสร้างพื้นที่สนทนาเกี่ยวกับการใช้กฎหมาย หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ พระราชินี และรัชทายาท หรือที่เรียกกันว่า “กฎหมายหมิ่นฯ”
ชื่อโครงการดังกล่าวมาจากประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ที่ระบุว่า “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี”
อย่าง ไรก็ดี มักพบว่าการฟ้องคดีหมิ่นฯ หรือที่เรียกกันว่า ข้อหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” มักพบในความขัดแย้งทางการเมือง ซึ่งเป็นที่รู้กันว่า ข้อหานี้มีความ ร้ายแรง ทั้งร้ายแรงด้วยอัตราโทษ และร้ายแรงเพราะมักถือว่าผู้ถูกกล่าวหามีความ “ไม่จงรักภักดี” ต่อพระมหากษัตริย์ และ เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ ซึ่งสามารถตีความได้อย่างกว้างขวาง เพราะกฎหมายถูกนำไปไว้ในหมวด ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร อันเปิดช่องให้ใครก็ได้สามารถแจ้งความกล่าวโทษให้ดำเนินคดีข้อหานี้ได้ ส่งผลให้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพง่ายต่อการถูกใช้เป็นอาวุธเพื่อกลั่นแกล้งทางการเมือง
โครงการมาตรา 112 : รณรงค์เพื่อความตื่นรู้ฯ ได้ทำการศึกษาแล้วพบว่า มีการกล่าวหาและจับกุมผู้ต้องหา ในคดีหมิ่นฯ มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก กล่าวคือ จากเดิมที่มีคดีเฉลี่ยราว 10 คดีต่อปี แต่นับแต่ปี 2548-2552 กลับมีคดีจำนวนมากถึง 547 คดี ซึ่งถือเป็นจำนวนที่สูงมากอย่างไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ไทย
ทั้งนี้ยังพบว่า ในหลายคดีผู้ถูกกล่าวหาถูกฟ้องเพราะวิพากษ์วิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์ หลายคดีถูกฟ้องเพราะเป็นตัวกลางทางอินเทอร์เน็ต หรือเป็นสื่อมวลชนที่นำเสนอข่าวตามหน้าที่ แสดงให้เห็นว่ามีการใช้กฎหมายและตีความกฎหมายไปในลักษณะที่กว้างขวาง ผิดต่อหลักการของกฎหมายอาญา ที่ต้องตีความอย่างเคร่งครัด ระหว่างกรณีการวิพากษ์วิจารณ์กับการดูหมิ่นนั้นแตกต่างกันอย่างไร การหมิ่นประมาทกับการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต แตกต่างกันอย่างไร ส่งผลให้สังคมไทยโดยรวมตกอยู่ในความหวาดกลัวต่อการแสดงความคิดเห็นเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ในที่สาธารณะ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่มีหน้าที่รักษากฎหมายหวาดกลัว ที่จะอนุญาตให้ผู้ถูกจับกุมได้รับสิทธิในการประกันตัว หลายคดีที่เจ้าหน้าที่รัฐโน้มน้าวให้ผู้ต้องหาทำเรื่องให้เงียบโดยไม่ให้แจ้งข้อมูลกับสื่อมวลชน ทั้งยังโน้มน้าวให้ยอมรับสารภาพโดยข่มขู่ว่าคดีลักษณะนี้สู้ยากแต่หากยอมรับก็จะได้ลดโทษกึ่งหนึ่ง หลายครั้งการดำเนินคดีและกระบวนพิจารณาเป็นไปโดยลับ ทำให้ไม่อยู่ในวิสัยที่จะตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของกระบวนการได้
โครงการ มาตรา112 : รณรงค์เพื่อความตื่นรู้ฯ เห็นถึงความละเอียดอ่อนของความสัมพันธ์ของกฎหมายมาตรานี้กับสังคมไทย และด้วยเหตุนี้ สมาชิกของเครือข่ายจึงมุ่งรณรงค์ในเป้าหมาย 3 ประการ ได้แก่ หนึ่ง การสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับมาตราว่าด้วยพระมหากษัตริย์ สอง ส่งเสริมให้เกิดการถกเถียงถึงผลกระทบที่รอบด้านจากกฎหมายหมิ่นฯ เป็นประเด็นสาธารณะ และประการสุดท้าย เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มและผู้สนใจร่วมกันหาทางออก บนพื้นฐานของสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในระบอบประชาธิปไตย โดยมีบุคคลต่างตามรายชื่อแนบท้ายนี้ร่วมลงนามในแถลงการณ์
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
อีเมลล์ article112lm@gmail.com
สามารถติดตามกิจกรรมของเครือข่ายได้ที่: http://article112.blogspot.com/
กรณีตัวอย่างผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมาย “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ทั้งทางตรงและทางอ้อม
1. บัณฑิต อานียา อายุ 69 ปี อาชีพนักเขียนอิสระ: ถูกพิพากษาจำคุก 2 ปี 8 เดือน
จากการที่บัณฑิตแจกเอกสารในงานสัมมนาแห่งหนึ่งเมื่อปี 2546 โดยเนื้อหาของเอกสารระบุถึงความเป็นกลางของศาลที่ไม่ควรนำรูปใดๆมาแขวนไว้ เป็นเหตุให้เขาถูกพลตำรวจเอกวาสนา เพิ่มลาภ วิทยากรในงานสัมมนาดังกล่าวฟ้องดำเนินคดีข้อหากระทำความผิดต่อองค์พระมหากษัติรย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ระหว่างถูกควบคุมตัวในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เขาถูกเจ้าหน้าที่ในเรือนจำด่าทอด้วยคำพูดหยาบคายและจะเข้าทำร้าย ทำให้เขาต้องก้มลงกราบเพื่อขออย่าให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นทำอะไรตน
ด้านกระบวนการยุติธรรม กระบวนการพิจาณาคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นไปโดยลับ มีเพียงจำเลย โจทก์ และพยานจากทั้งสองฝ่ายเท่านั้น (หนึ่งในพยานโจทก์ได้แก่ เลขาธิการของคณะองคมนตรี) ศาลอุทธรณ์ตัดสินจำคุก 2 ปี 8 เดือน ให้รอลงโทษเป็นเวลา 3 ปีเนื่องจากอายุมากและไม่เคยกระทำความผิดใด ขณะนี้เวลาผ่านไปแล้ว 2 ปี จำเลยอยู่ระหว่างรอศาลฏีกาเรียกไปฟังคำตัดสิน
ปัจจุบันบัณฑิตประสบปัญหาทางด้านร่างกายและจิตใจ ก่อนหน้านี้เขาป่วยเป็นมะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะ แพทย์จึงทำการผ่าตัดเอามะเร็งออก และผ่าตัดไตออกอีกหนึ่งข้าง ทำให้ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้ปกติ ขณะนี้อาการป่วยกำเริบมายังบริเวณอื่นในร่างกาย และมีความกังวลมากขึ้นต่ออาการป่วยของตนเองหากถูกศาลตัดสินจำคุก
2. ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล อายุ 47 ปี ประชาชนที่ต่อต้านรัฐประหาร: ถูกพิพากษาจำคุกรวม 18 ปี
ดารณี หรือ “ดา ตอปิโด” ตกเป็นจำเลยในคดีหมิ่นเบื้องสูงหลังจากที่เธอขึ้นกล่าวปราศรัยบนเวทีเสื้อแดงเมื่อวันที่ 18-19 กรกฎาคม 2551 ที่ท้องสนามหลวง (โดยสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยตกเป็นจำเลยในข้อหาเดียวกันหลังจากที่นำคำพูดของดารณีมากล่าวซ้ำ)
ดารณีถูกควบคุมตัวมาเป็นเวลา 1 ปี 1 เดือนก่อนจะถูกศาลชั้นต้นตัดสินจำคุกรวม 18 ปี จากความผิด 3 กระทง กระทงละ 6 ปี โดยที่กระบวนการพิจารณาคดีเป็นไปโดยลับ ทนายของดารณีจึงยื่นอุทธรณ์ ล่าสุดศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่ เนื่องจากศาลชั้นต้นไม่ส่งความเห็นจำเลยให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากฎหมายที่ให้อำนาจศาลพิจารณาคดีลับขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
ตั้งแต่ถูกควบคุมตัว ดารณีได้ยื่นขอประกันตัวหลายครั้งแต่ไม่ได้รับอนุญาต โดยศาลให้เหตุผลว่าความผิดนี้เป็นความผิดร้ายแรง กระทบกระเทือนความมั่นคงของชาติและจิตใจของประชาชน หากปล่อยตัวไปเกรงว่าผู้ต้องหาจะไปกระทำผิดซ้ำอีกหรือหลบหนี นอกจากนั้นระหว่างถูกคุมขัง เธอยังถูกกักขังเดี่ยวเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 3 เดือน และต้องสวมเครื่องแบบนักโทษที่มีขลิบสีแดงตรงปลายแขน ซึ่งเป็นชุดของผู้ต้องโทษอุจฉกรรจ์ เช่น ฆ่าคนตาย และค้ายาเสพติดเกินหมื่นเม็ดขึ้นไปทุกครั้งที่ขึ้นศาล
ดารณีประสบความยากลำบากในการดำรงชีวิต เนื่องจากเธอป่วยเป็นโรคขากรรไกรอักเสบเรื้อรัง แม้ญาติ ทนาย และองค์กรสิทธิมนุษยชนพยายามยื่นเรื่องต่อเรือนจำขอให้ส่งตัวไปรักษายังโรงพยาบาลภายนอกหลายครั้งแต่ศาลยกคำร้อง
3. ธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล อายุ 38 ปี อาชีพนักออกแบบเว็บไซด์: ถูกพิพากษาจำคุก 13 ปี
ธันย์ฐวุฒิ หรือ “หนุ่ม นปช. ยูเอสเอ”ตกเป็นจำเลยข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยตำรวจจากกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีกล่าวหาว่าเขาเป็นผู้โพสต์ข้อความหมิ่นเบื้องสูงในเว็บไซด์นปช.ยูเอสเอโดยใช้ชื่อว่าadmin และยังกล่าวหาว่าเขาเป็นผู้ให้บริการเว็บไซด์ดังกล่าว ก่อนศาลชั้นต้นตัดสินจำคุกรวมทั้งสิ้นเป็นเวลา 13 ปี ต่อมาเขาได้ยื่นขอประกันตัว แต่ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องโดยให้เหตุผลว่าเขาถูกจับพร้อมของกลางและรับสารภาพ และคดีมีอัตราโทษสูงหากปล่อยไปเกรงจะหลบหนี
กรณีนี้เครือข่ายพลเมืองเน็ตซึ่งเป็นองค์กรอิสระประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์และนักกฎหมายได้ตั้งข้อสังเกตว่าคำพิพากษาของศาลอาญาแสดงให้เห็นถึงความไม่เข้าใจของผู้อยู่ในกระบวนการยุติธรรม ถึงความเป็นไปได้และข้อเท็จจริงทางเทคโนโลยี เช่น การโยงการเข้าถึง FTP ได้ว่าเท่ากับการเป็นผู้ดูแลระบบ, การเข้าใจว่าเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ได้เท่ากับว่าสามารถแก้ไขเนื้อหาในระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวได้, ความไม่เข้าใจว่าระบบอินเทอร์เน็ตนั้น ประกอบด้วยหลายบริการ ที่แยกจากกัน เช่น อีเมล, FTP, เว็บ (WWW), แชท, ฯลฯ และทำงานจากการประสานกันของหลายชิ้นส่วนซึ่งไม่จำเป็นต้องดูแลโดยผู้ดูแลระบบคนเดียวกัน, และความไม่เข้าใจในระบบคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการเว็บว่าสามารถเชื่อมโยงและทำงานร่วมกันอย่างเป็นอิสระจากกันอย่างไร เป็นต้น
นอกจากนี้ระหว่างกระบวนการสอบสวนในชั้นตำรวจ ธันย์ฐวุฒิอ้างว่าเขายอมรับสารภาพเนื่องจากถูกบังคับ และเกรงจะเกิดอันตรายกับบุตรชายวัย 11 ขวบเพราะเจ้าหน้าที่ได้ควบคุมบุตรไว้ (ระหว่างเบิกความในชั้นศาล เจ้าหน้าที่ยอมรับว่าได้ควบคุมตัวบุตรชายของธันย์ฐวุฒิไว้จริง) รวมทั้งไม่ได้รับอนุญาตให้ติดต่อกับญาติ หรือทนายความ นอกจากนั้นระหว่างถูกคุมขัง เขายังถูกผู้ต้องหาในเรือนจำซึ่งเป็นชายฉกรรจ์หลายนายรุมทำร้ายร่างกายหลายครั้ง
4. อำพล ตั้งนพกุล อายุ 61 ปี กรณีส่งSMSเข้าข่ายหมิ่นฯไปยังมือถือเลขาฯนายกฯ
วันที่ 4 สิงหาคม 2553 อำพลถูกตำรวจนำกำลังกว่า 15 นาย พร้อมกองทัพนักข่าวเข้าค้นบ้านพักและจับกุมตัว โดยอ้างว่าเขาส่ง SMS ซึ่งมีเนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นเบื้องสูงไปยังโทรศัพท์มือถือของเลขานุการนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี อำพลปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยยืนยันว่าไม่เคยส่งSMS เพราะโดยลำพังเขาไม่เข้าใจเทคโนโลยีการสื่อสารมากนัก และเขาใช้โทรศัพท์มือถือสำหรับโทรเข้า-ออกเท่านั้น อย่างไรก็ตามเขาถูกตั้งข้อหาว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
เขาถูกอัยการสั่งฟ้องและศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้ประกันตัวโดยให้เหตุผลว่า “พิเคราะห์ความหนักเบา ของข้อหา ตลอดจนพฤติการณ์แห่งคดีเป็นการกระทำต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินีและองค์รัชทายาท นับเป็นเรื่องร้ายแรงและกระทบความรู้สึกของปวงชนชาวไทย หากให้จำเลยปล่อยตัวชั่วคราวเกรงว่าจะหลบหนี จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว…" แม้ว่าก่อนหน้านี้เขาได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นสอบสวนหลังจากถูกนำตัวไปฝากขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯราว 2 เดือน โดยที่เขามารายงานตัวต่อศาลอย่างสม่ำเสมอ
ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่เพียงเฉพาะด้านสุขภาพของอำพล ซึ่งเขาป่วยเป็นมะเร็งช่องปาก แต่ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัวทั้งด้านเศรษฐกิจและจิตใจ เนื่องจากโดยปรกติแล้วอำพลและภรรยาทำหน้าที่เลี้ยงดูหลาน 3 - 4 คนแทนลูกๆของเขาซึ่งต้องทำงานหาเช้ากินค่ำ การที่อำพลถูกจับกุมทำให้ครอบครัวซึ่งมีฐานะยากจนต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการหาทนาย รวมทั้งค่าเดินทางไปเยี่ยมอำพลในเรือนจำ นอกจากนั้นลูกชายของเขาต้องออกจากงานเนื่องจากถูกที่ทำงานกดดันจากการที่พ่อของเขาต้องคดี หรือลูกสาวและหลานที่ถูกเพื่อนบ้านล้อเลียน
5. จีรนุช เปรมชัยพร อาชีพผู้อำนวยการเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท
คดีแรก : มาตรา 14, 15 พ.ร.บ.คอม
วันที่ 6 มี.ค.2552 ตำรวจได้บุกจับกุมจีรนุช ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไทที่สำนักงาน เนื่องจากพบว่ามีผู้อ่านโพสต์ข้อความในเว็บบอร์ดประชาไทซึ่งอ้างว่ามีเนื้อหาหมิ่นเบื้องสูง แม้ข้อความทั้ง 10 ข้อความถูกลบไปแล้วหลายเดือนก่อนที่จะมีการแจ้งข้อกล่าวหาและดำเนินคดี
ต่อมาวันที่ 31 มี.ค.53 พนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจีรนุชเป็นจำเลยต่อศาลอาญา ในฐานความผิดเป็นผู้ให้บริการ จงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำผิดโดยนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้ อื่นและประชาชน, นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่ง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร และเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้ว่าเป็นข้อมูลที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เป็นความผิดตามมาตรา 14, 15 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการสืบพยานในชั้นศาล
คดีที่สอง : มาตรา 14, 15 พ.ร.บ.คอม , 112, 116 กฎหมายอาญา
วันที่ 24 ก.ย.2553 จีรนุช ถูกควบคุมตัวที่สถานบินสุวรรณภูมิหลังจากกลับจากการประชุม Internet at Liberty 2010 ประเทศฮังการี และถูกนำตัวไปสอบสวนยัง สภอ.ขอนแก่นทันที และได้ประกันตัวในคืนวันนั้น โดยตำรวจเปิดเผยว่า มีผู้มาร้องทุกข์กล่าวโทษผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไทในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตั้งแต่ปี 2551 จากกรณีที่มีผู้อ่านโพสต์ความคิดเห็นท้ายข่าวในเว็บไซต์ประชาไท จีรนุชถูกตั้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 14, 15 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และมาตรา 112, 116 ของประมวลกฎหมายอาญา เหตุดังกล่าวทำให้จีรนุชต้องเดินทางไปขอนแก่นเพื่อรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานสอบสวนประมาณเดือนละ 1 ครั้ง จนกระทั่งเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2554 ครบกำหนด 6 เดือน ตามอำนาจเจ้าพนักงานสอบสวนในสัญญาประกัน เจ้าพนักงานจึงนัดหมายเพื่อดำเนินการขออำนาจศาลในการฝากขังต่อ แต่จีรนุชได้คัดค้านการขอฝากขัง ซึ่งศาลพิจารณาแล้วมีความเห็นยกคำร้องขอฝากขังของตำรวจ ทำให้จีรนุชไม่จำเป็นต้องเดินทางไปรายงานตัวต่อ แต่จำเป็นจะต้องไปตามนัดหมายหากเจ้าหน้าที่ส่งสำนวนคดีให้อัยการ และเมื่ออัยการส่งฟ้องต่อศาล
6. จิตรา คชเดช อดีตประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย: เลิกจ้างเพราะขาดวิญญาณประชาชาติไทย
เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2551 เวลา 23.00น จิตราได้รับเชิญให้ไปออกรายการของสถานีโทรทัศน์ NBT หัวข้อ “ทำท้อง ทำแท้ง” โดยเธอได้ใส่เสื้อยืดสีดำ มีข้อความว่า “ไม่ยืนไม่ใช่อาชญากร คิดต่างไม่ใช่อาชญากรรม” (ซึ่งเป็นเสื้อรณรงค์กรณีที่นักศึกษาคนหนึ่งที่ถูกตั้งข้อหาหมิ่นเบื้องสูงจากการที่เขาไม่ยืนในโรงหนังขณะที่เพลงสรรเสริญพระบารมีดังขึ้น) การใส่เสื้อยืดที่มีข้อความดังกล่าวของจิตราทำให้เธอถูกนายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา และหนังสือพิมพ์ผู้จัดการกล่าวโจมตีว่าเธออยู่ในขบวนการล้มล้างสถาบันกษัตริย์
ต่อมาวันที่ 29 กรกฎาคม 2551 จิตราถูกไล่ออกจากงาน โดยบริษัท บอดี้แฟชั่น ประเทศไทย จำกัด (ผลิตชุดชั้นใน Triumph)ซึ่งเธอทำงานอยู่ อ้างว่าการที่เธอใส่เสื้อยืดดังกล่าวทำให้บริษัทเสื่อมเสียชื่อเสียง ในขณะที่เพื่อนร่วมงานของเธอทั้งหมดเชื่อว่าเป็นความพยายามทำลายสหภาพแรงงาน จึงออกมาร่วมชุมนุมประท้วง
กระทั่งวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 ศาลแรงงานตัดสินให้บริษัทฯเลิกจ้างจิตรา โดยใจความตอนหนึ่งระบุว่า “…วิญญาณประชาติไทยมีเอกลักษณ์ต่างจากชาติอื่น ซื่งเป็นที่ยอมรับหรือเป็นที่ทราบกันดี ประชาชนคนไทยให้ความเคารพยกย่องเทิดทูนพระมหากษัตริย์ใครบังอาจดูหมิ่น เหยียดหยามไม่ได้ การที่ผู้คัดค้าน (จิตรา คชเดช) ใส่เสื้อยืดดังกล่าวออกรายการโทรทัศน์ย่อมทราบดี…การกระทำดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อชาติ และมีผู้เรียกร้องให้(ประชาชน)เลิกซื้อสินค้า…” ด้วยเหตุนี้ศาลเห็นว่าการกระทำของจิตราทำให้นายจ้างเสียหายและอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ จึงอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้างจิตรา โดยที่เธอไม่ต้องรับเงินค่าชดเชยจากการเลิกจ้างใดๆ
ปัจจุบันจิตราร่วมกับคนงานที่ถูกเลิกจ้างผลิตกางเกงใน “เพื่อความเป็นธรรม”ภายใต้ยี่ห้อ Try Arm และยังคงเข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยต่อไป
จากการที่บัณฑิตแจกเอกสารในงานสัมมนาแห่งหนึ่งเมื่อปี 2546 โดยเนื้อหาของเอกสารระบุถึงความเป็นกลางของศาลที่ไม่ควรนำรูปใดๆมาแขวนไว้ เป็นเหตุให้เขาถูกพลตำรวจเอกวาสนา เพิ่มลาภ วิทยากรในงานสัมมนาดังกล่าวฟ้องดำเนินคดีข้อหากระทำความผิดต่อองค์พระมหากษัติรย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
ระหว่างถูกควบคุมตัวในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ เขาถูกเจ้าหน้าที่ในเรือนจำด่าทอด้วยคำพูดหยาบคายและจะเข้าทำร้าย ทำให้เขาต้องก้มลงกราบเพื่อขออย่าให้เจ้าหน้าที่ผู้นั้นทำอะไรตน
ด้านกระบวนการยุติธรรม กระบวนการพิจาณาคดีในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นไปโดยลับ มีเพียงจำเลย โจทก์ และพยานจากทั้งสองฝ่ายเท่านั้น (หนึ่งในพยานโจทก์ได้แก่ เลขาธิการของคณะองคมนตรี) ศาลอุทธรณ์ตัดสินจำคุก 2 ปี 8 เดือน ให้รอลงโทษเป็นเวลา 3 ปีเนื่องจากอายุมากและไม่เคยกระทำความผิดใด ขณะนี้เวลาผ่านไปแล้ว 2 ปี จำเลยอยู่ระหว่างรอศาลฏีกาเรียกไปฟังคำตัดสิน
ปัจจุบันบัณฑิตประสบปัญหาทางด้านร่างกายและจิตใจ ก่อนหน้านี้เขาป่วยเป็นมะเร็งที่กระเพาะปัสสาวะ แพทย์จึงทำการผ่าตัดเอามะเร็งออก และผ่าตัดไตออกอีกหนึ่งข้าง ทำให้ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้ปกติ ขณะนี้อาการป่วยกำเริบมายังบริเวณอื่นในร่างกาย และมีความกังวลมากขึ้นต่ออาการป่วยของตนเองหากถูกศาลตัดสินจำคุก
2. ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล อายุ 47 ปี ประชาชนที่ต่อต้านรัฐประหาร: ถูกพิพากษาจำคุกรวม 18 ปี
ดารณี หรือ “ดา ตอปิโด” ตกเป็นจำเลยในคดีหมิ่นเบื้องสูงหลังจากที่เธอขึ้นกล่าวปราศรัยบนเวทีเสื้อแดงเมื่อวันที่ 18-19 กรกฎาคม 2551 ที่ท้องสนามหลวง (โดยสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยตกเป็นจำเลยในข้อหาเดียวกันหลังจากที่นำคำพูดของดารณีมากล่าวซ้ำ)
ดารณีถูกควบคุมตัวมาเป็นเวลา 1 ปี 1 เดือนก่อนจะถูกศาลชั้นต้นตัดสินจำคุกรวม 18 ปี จากความผิด 3 กระทง กระทงละ 6 ปี โดยที่กระบวนการพิจารณาคดีเป็นไปโดยลับ ทนายของดารณีจึงยื่นอุทธรณ์ ล่าสุดศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคดีใหม่ เนื่องจากศาลชั้นต้นไม่ส่งความเห็นจำเลยให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากฎหมายที่ให้อำนาจศาลพิจารณาคดีลับขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
ตั้งแต่ถูกควบคุมตัว ดารณีได้ยื่นขอประกันตัวหลายครั้งแต่ไม่ได้รับอนุญาต โดยศาลให้เหตุผลว่าความผิดนี้เป็นความผิดร้ายแรง กระทบกระเทือนความมั่นคงของชาติและจิตใจของประชาชน หากปล่อยตัวไปเกรงว่าผู้ต้องหาจะไปกระทำผิดซ้ำอีกหรือหลบหนี นอกจากนั้นระหว่างถูกคุมขัง เธอยังถูกกักขังเดี่ยวเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 3 เดือน และต้องสวมเครื่องแบบนักโทษที่มีขลิบสีแดงตรงปลายแขน ซึ่งเป็นชุดของผู้ต้องโทษอุจฉกรรจ์ เช่น ฆ่าคนตาย และค้ายาเสพติดเกินหมื่นเม็ดขึ้นไปทุกครั้งที่ขึ้นศาล
ดารณีประสบความยากลำบากในการดำรงชีวิต เนื่องจากเธอป่วยเป็นโรคขากรรไกรอักเสบเรื้อรัง แม้ญาติ ทนาย และองค์กรสิทธิมนุษยชนพยายามยื่นเรื่องต่อเรือนจำขอให้ส่งตัวไปรักษายังโรงพยาบาลภายนอกหลายครั้งแต่ศาลยกคำร้อง
3. ธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล อายุ 38 ปี อาชีพนักออกแบบเว็บไซด์: ถูกพิพากษาจำคุก 13 ปี
ธันย์ฐวุฒิ หรือ “หนุ่ม นปช. ยูเอสเอ”ตกเป็นจำเลยข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และ พ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยตำรวจจากกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีกล่าวหาว่าเขาเป็นผู้โพสต์ข้อความหมิ่นเบื้องสูงในเว็บไซด์นปช.ยูเอสเอโดยใช้ชื่อว่าadmin และยังกล่าวหาว่าเขาเป็นผู้ให้บริการเว็บไซด์ดังกล่าว ก่อนศาลชั้นต้นตัดสินจำคุกรวมทั้งสิ้นเป็นเวลา 13 ปี ต่อมาเขาได้ยื่นขอประกันตัว แต่ศาลอุทธรณ์ยกคำร้องโดยให้เหตุผลว่าเขาถูกจับพร้อมของกลางและรับสารภาพ และคดีมีอัตราโทษสูงหากปล่อยไปเกรงจะหลบหนี
กรณีนี้เครือข่ายพลเมืองเน็ตซึ่งเป็นองค์กรอิสระประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์และนักกฎหมายได้ตั้งข้อสังเกตว่าคำพิพากษาของศาลอาญาแสดงให้เห็นถึงความไม่เข้าใจของผู้อยู่ในกระบวนการยุติธรรม ถึงความเป็นไปได้และข้อเท็จจริงทางเทคโนโลยี เช่น การโยงการเข้าถึง FTP ได้ว่าเท่ากับการเป็นผู้ดูแลระบบ, การเข้าใจว่าเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ได้เท่ากับว่าสามารถแก้ไขเนื้อหาในระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวได้, ความไม่เข้าใจว่าระบบอินเทอร์เน็ตนั้น ประกอบด้วยหลายบริการ ที่แยกจากกัน เช่น อีเมล, FTP, เว็บ (WWW), แชท, ฯลฯ และทำงานจากการประสานกันของหลายชิ้นส่วนซึ่งไม่จำเป็นต้องดูแลโดยผู้ดูแลระบบคนเดียวกัน, และความไม่เข้าใจในระบบคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการเว็บว่าสามารถเชื่อมโยงและทำงานร่วมกันอย่างเป็นอิสระจากกันอย่างไร เป็นต้น
นอกจากนี้ระหว่างกระบวนการสอบสวนในชั้นตำรวจ ธันย์ฐวุฒิอ้างว่าเขายอมรับสารภาพเนื่องจากถูกบังคับ และเกรงจะเกิดอันตรายกับบุตรชายวัย 11 ขวบเพราะเจ้าหน้าที่ได้ควบคุมบุตรไว้ (ระหว่างเบิกความในชั้นศาล เจ้าหน้าที่ยอมรับว่าได้ควบคุมตัวบุตรชายของธันย์ฐวุฒิไว้จริง) รวมทั้งไม่ได้รับอนุญาตให้ติดต่อกับญาติ หรือทนายความ นอกจากนั้นระหว่างถูกคุมขัง เขายังถูกผู้ต้องหาในเรือนจำซึ่งเป็นชายฉกรรจ์หลายนายรุมทำร้ายร่างกายหลายครั้ง
4. อำพล ตั้งนพกุล อายุ 61 ปี กรณีส่งSMSเข้าข่ายหมิ่นฯไปยังมือถือเลขาฯนายกฯ
วันที่ 4 สิงหาคม 2553 อำพลถูกตำรวจนำกำลังกว่า 15 นาย พร้อมกองทัพนักข่าวเข้าค้นบ้านพักและจับกุมตัว โดยอ้างว่าเขาส่ง SMS ซึ่งมีเนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นเบื้องสูงไปยังโทรศัพท์มือถือของเลขานุการนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี อำพลปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยยืนยันว่าไม่เคยส่งSMS เพราะโดยลำพังเขาไม่เข้าใจเทคโนโลยีการสื่อสารมากนัก และเขาใช้โทรศัพท์มือถือสำหรับโทรเข้า-ออกเท่านั้น อย่างไรก็ตามเขาถูกตั้งข้อหาว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
เขาถูกอัยการสั่งฟ้องและศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้ประกันตัวโดยให้เหตุผลว่า “พิเคราะห์ความหนักเบา ของข้อหา ตลอดจนพฤติการณ์แห่งคดีเป็นการกระทำต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินีและองค์รัชทายาท นับเป็นเรื่องร้ายแรงและกระทบความรู้สึกของปวงชนชาวไทย หากให้จำเลยปล่อยตัวชั่วคราวเกรงว่าจะหลบหนี จึงไม่อนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว…" แม้ว่าก่อนหน้านี้เขาได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวในชั้นสอบสวนหลังจากถูกนำตัวไปฝากขังที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯราว 2 เดือน โดยที่เขามารายงานตัวต่อศาลอย่างสม่ำเสมอ
ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่เพียงเฉพาะด้านสุขภาพของอำพล ซึ่งเขาป่วยเป็นมะเร็งช่องปาก แต่ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัวทั้งด้านเศรษฐกิจและจิตใจ เนื่องจากโดยปรกติแล้วอำพลและภรรยาทำหน้าที่เลี้ยงดูหลาน 3 - 4 คนแทนลูกๆของเขาซึ่งต้องทำงานหาเช้ากินค่ำ การที่อำพลถูกจับกุมทำให้ครอบครัวซึ่งมีฐานะยากจนต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการหาทนาย รวมทั้งค่าเดินทางไปเยี่ยมอำพลในเรือนจำ นอกจากนั้นลูกชายของเขาต้องออกจากงานเนื่องจากถูกที่ทำงานกดดันจากการที่พ่อของเขาต้องคดี หรือลูกสาวและหลานที่ถูกเพื่อนบ้านล้อเลียน
5. จีรนุช เปรมชัยพร อาชีพผู้อำนวยการเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท
คดีแรก : มาตรา 14, 15 พ.ร.บ.คอม
วันที่ 6 มี.ค.2552 ตำรวจได้บุกจับกุมจีรนุช ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไทที่สำนักงาน เนื่องจากพบว่ามีผู้อ่านโพสต์ข้อความในเว็บบอร์ดประชาไทซึ่งอ้างว่ามีเนื้อหาหมิ่นเบื้องสูง แม้ข้อความทั้ง 10 ข้อความถูกลบไปแล้วหลายเดือนก่อนที่จะมีการแจ้งข้อกล่าวหาและดำเนินคดี
ต่อมาวันที่ 31 มี.ค.53 พนักงานอัยการได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องจีรนุชเป็นจำเลยต่อศาลอาญา ในฐานความผิดเป็นผู้ให้บริการ จงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำผิดโดยนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้ อื่นและประชาชน, นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่ง ข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร และเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้ว่าเป็นข้อมูลที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เป็นความผิดตามมาตรา 14, 15 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปัจจุบันคดีอยู่ระหว่างการสืบพยานในชั้นศาล
คดีที่สอง : มาตรา 14, 15 พ.ร.บ.คอม , 112, 116 กฎหมายอาญา
วันที่ 24 ก.ย.2553 จีรนุช ถูกควบคุมตัวที่สถานบินสุวรรณภูมิหลังจากกลับจากการประชุม Internet at Liberty 2010 ประเทศฮังการี และถูกนำตัวไปสอบสวนยัง สภอ.ขอนแก่นทันที และได้ประกันตัวในคืนวันนั้น โดยตำรวจเปิดเผยว่า มีผู้มาร้องทุกข์กล่าวโทษผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไทในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตั้งแต่ปี 2551 จากกรณีที่มีผู้อ่านโพสต์ความคิดเห็นท้ายข่าวในเว็บไซต์ประชาไท จีรนุชถูกตั้งข้อกล่าวหาตามมาตรา 14, 15 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และมาตรา 112, 116 ของประมวลกฎหมายอาญา เหตุดังกล่าวทำให้จีรนุชต้องเดินทางไปขอนแก่นเพื่อรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานสอบสวนประมาณเดือนละ 1 ครั้ง จนกระทั่งเมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2554 ครบกำหนด 6 เดือน ตามอำนาจเจ้าพนักงานสอบสวนในสัญญาประกัน เจ้าพนักงานจึงนัดหมายเพื่อดำเนินการขออำนาจศาลในการฝากขังต่อ แต่จีรนุชได้คัดค้านการขอฝากขัง ซึ่งศาลพิจารณาแล้วมีความเห็นยกคำร้องขอฝากขังของตำรวจ ทำให้จีรนุชไม่จำเป็นต้องเดินทางไปรายงานตัวต่อ แต่จำเป็นจะต้องไปตามนัดหมายหากเจ้าหน้าที่ส่งสำนวนคดีให้อัยการ และเมื่ออัยการส่งฟ้องต่อศาล
6. จิตรา คชเดช อดีตประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์อินเตอร์เนชั่นแนลแห่งประเทศไทย: เลิกจ้างเพราะขาดวิญญาณประชาชาติไทย
เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2551 เวลา 23.00น จิตราได้รับเชิญให้ไปออกรายการของสถานีโทรทัศน์ NBT หัวข้อ “ทำท้อง ทำแท้ง” โดยเธอได้ใส่เสื้อยืดสีดำ มีข้อความว่า “ไม่ยืนไม่ใช่อาชญากร คิดต่างไม่ใช่อาชญากรรม” (ซึ่งเป็นเสื้อรณรงค์กรณีที่นักศึกษาคนหนึ่งที่ถูกตั้งข้อหาหมิ่นเบื้องสูงจากการที่เขาไม่ยืนในโรงหนังขณะที่เพลงสรรเสริญพระบารมีดังขึ้น) การใส่เสื้อยืดที่มีข้อความดังกล่าวของจิตราทำให้เธอถูกนายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา และหนังสือพิมพ์ผู้จัดการกล่าวโจมตีว่าเธออยู่ในขบวนการล้มล้างสถาบันกษัตริย์
ต่อมาวันที่ 29 กรกฎาคม 2551 จิตราถูกไล่ออกจากงาน โดยบริษัท บอดี้แฟชั่น ประเทศไทย จำกัด (ผลิตชุดชั้นใน Triumph)ซึ่งเธอทำงานอยู่ อ้างว่าการที่เธอใส่เสื้อยืดดังกล่าวทำให้บริษัทเสื่อมเสียชื่อเสียง ในขณะที่เพื่อนร่วมงานของเธอทั้งหมดเชื่อว่าเป็นความพยายามทำลายสหภาพแรงงาน จึงออกมาร่วมชุมนุมประท้วง
กระทั่งวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551 ศาลแรงงานตัดสินให้บริษัทฯเลิกจ้างจิตรา โดยใจความตอนหนึ่งระบุว่า “…วิญญาณประชาติไทยมีเอกลักษณ์ต่างจากชาติอื่น ซื่งเป็นที่ยอมรับหรือเป็นที่ทราบกันดี ประชาชนคนไทยให้ความเคารพยกย่องเทิดทูนพระมหากษัตริย์ใครบังอาจดูหมิ่น เหยียดหยามไม่ได้ การที่ผู้คัดค้าน (จิตรา คชเดช) ใส่เสื้อยืดดังกล่าวออกรายการโทรทัศน์ย่อมทราบดี…การกระทำดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อชาติ และมีผู้เรียกร้องให้(ประชาชน)เลิกซื้อสินค้า…” ด้วยเหตุนี้ศาลเห็นว่าการกระทำของจิตราทำให้นายจ้างเสียหายและอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ จึงอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้างจิตรา โดยที่เธอไม่ต้องรับเงินค่าชดเชยจากการเลิกจ้างใดๆ
ปัจจุบันจิตราร่วมกับคนงานที่ถูกเลิกจ้างผลิตกางเกงใน “เพื่อความเป็นธรรม”ภายใต้ยี่ห้อ Try Arm และยังคงเข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยต่อไป
มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้ในกฎหมายหมิ่นฯ
บริบทสถานการณ์
ตัวเลขผู้ที่ถูกกล่าวหาและถูกดำเนินคดีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในระยะเวลาห้าถึงหกปีที่ผ่านมา ในระหว่างปี 2535 – 2547 ตัวเลขของคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่มีการฟ้องร้องกันในศาลเฉลี่ยแล้วมีน้อยกว่า 10 คดี ดังนั้นผลกระทบจากกฎหมายดังกล่าวจึงยังจำกัดอยู่ในวงแคบ แต่ผลการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ชี้ให้เห็นว่า ระหว่างปี 2548 – 2552 ตัวเลขของคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีมากถึง 547 คดี ที่ถูกนำไปพิจารณาคดีทั้งในระดับศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เฉลี่ยแล้วปีละ 109 คดี และมีที่ศาลมีคำตัดสินว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแล้วจำนวน247 คดี ในปี 2547 เพียงปีเดียวมีการดำเนินคดีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในระดับศาลชั้นต้นมากถึง 164 คดี ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเน้นย้ำให้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานนุภาพเป็นประเด็นที่ผู้คนในสังคมสามารถพูดคุย ถกเถียงได้อย่างเปิดเผย ด้วยหวังว่าจะมีทางออกในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากกฎหมายดังกล่าวในท้ายที่สุด
หลักการและเหตุผล
จุดประสงค์ของการริเริ่มการรณรงค์เพื่อความตระหนักรู้ในกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คือ การรวบรวมบุคคล องค์กร และเครือข่ายต่างๆ ที่มีความห่วงกังวลต่อปัญหาที่เกิดจากกฎหมายอาญามาตรา 112 และการบังคับใช้กฎหมาย ท่าทีของการรณรงค์ครั้งนี้คือ สร้างให้กฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นประเด็นที่ผู้คนในสังคมสามารถพูดคุย ถกเถียงได้อย่างเปิดเผย พวกเรามีความเห็นว่ากฎหมายอาญามาตรา 112 และการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเป็นปัจจัยคุกคามต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งสิทธิดังกล่าวเป็นกลไกที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อสังคมประชาธิปไตย ไม่ว่าบุคคลนั้นจะต้องการแก้ไข หรือยกเลิก หรือแม้แต่สนับสนุนกฎหมายดังกล่าวก็สามารถเข้าร่วมการรณรงค์เพื่อความตระหนักรู้ในกฎหมายอาญามาตรา 112 ได้ เพียงแต่บุคคลนั้นสนใจถึงผลกระทบที่ตามมาจากการใช้กฎหมายดังกล่าว
ชื่อภาษาไทยของการรณรงค์ครั้งนี้คือ “มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้ในกฎหมายหมิ่นฯ”
และชื่อภาษาอังกฤษ คือ “Article 112: Awareness Campaign”
การรณรงค์จะเปิดตัวด้วยการแถลงรายชื่อบุคคลจากหลากหลายสาขาอาชีพทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ จำนวน 112 คน ซึ่งรวมถึง สื่อมวลชน แรงงาน นักกฎหมาย นักวิชาการ นักเรียน นักสิทธิมนุษยชน ศิลปิน ผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายดังกล่าวเกษตรกร ผู้ที่อยู่ในแวดวงทางศาสนา แพทย์ และเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยบุคคลทั้ง 112 คนนี้จะเป็นจุดเริ่มต้น อย่างไรก็ตามยินดีรับรายชื่อเพิ่มเติมจากผู้ที่เห็นพ้องแนวคิดว่า มาตรา 112 นั้นควรได้รับการถกเถียงกันอย่างเปิดเผย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นฯ
2. เพื่อผลักดันให้เกิดการถกเถียง แลกเปลี่ยน และหาทางออกเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นฯ
รูปแบบกิจกรรมเบื้องต้น
เปิดตัวการรณรงค์ มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้ โดยขอจัดต่อจากเวทีวิชาการเรื่องกฎหมายหมิ่นฯของกลุ่มนิติราษฎร์ วันที่ 27 มีนาคม 2554 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ (เวลาจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง) ในงานดังกล่าวจะมีการแถลงรายชื่อบุคคล 112 คน หรือใครก็ตาม ที่ยินดีจะแสดงตนต่อสาธารณะว่าสนับสนุนการรณรงค์ในครั้งนี้ และอาจจะมีบุคคลผู้ร่วมลงชื่อบางคนที่ไม่สามารถเข้าร่วมงานในวันดังกล่าวได้ เราจึงขอเชิญให้ทุกท่านที่สามารถมาได้เข้าร่วมงาน ผู้ที่สามารถมาร่วมงานเปิดตัวได้จริงจะต้องจ่ายเงิน 300 บาทเพื่อเป็นทุนสนับสนุนการทำงาน และบุคคล 112 ท่านแรกที่เข้าร่วมการรณรงค์จะได้รับเสื้อยืดที่มีโลโก้ของการณรงค์เป็นที่ระลึก
*** กรุณาแจ้งรายชื่อมาที่ article112lm@gmail.com
หมายเหตุ: 112 คนแรก ใช้เพื่อแสดงตัวตนในการเปิดตัว ไม่ปิดกั้นสำหรับคนที่สนใจจะเข้ามาร่วมในภายหลัง
Article 112: Thai Lese Majeste Law Awareness Campaign
(Article 112 Awareness Campaign)
Context:
The number of those accused and prosecuted on charges of lese majeste, Article 112 of the Thai criminal code, has shown a shocking increase over the past five to six years. From 1992 to 2004, there was less than an average of less 10 cases of lese majeste tried in Thai courts, and thus the law’s effect was limited to a rather narrow circle. Recent scholarship indicates that from 2005 to 2009 there were 547 cases of lese majeste sent to trial on the Court of First Instance, the Appeals Court, and the Supreme Court levels—an average of 109 cases per year—during which 274 judgments were handed down for lese majeste. In 2009, there were an all-time high 164 lese majeste cases tried in the Court of First Instance. It is therefore necessary for the issue of lese majeste to be highlighted and made into a public issue in the hope that eventually there will be a change in this law.
Rationale:
The purpose of establishing the Article 112 Lese Majeste Awareness Campaign is to bring together individuals, organizations, and networks concerned about problems caused by Article 112 and its use. The position of the Article 112 Campaign is simply to make Article 112 a public issue. We believe that Article 112 (and its use) poses a serious threat to the right of freedom of expression and as such it cripples a key mechanism necessary for any democratic society. Regardless of whether one is wanting to amend or abolish the law, or even whether one supports the law but is concerned by the effects of its use, all are welcome to join the Article 112 Awareness Campaign.
The Thai and English name of the campaign differs as one is aimed at a national audience while the other focuses on an international audience. The Thai name is essentially the “Article 112 Awareness Campaign.” In English, it is the “Article 112: Thai Lese Majeste Law Awareness Campaign.”
The campaign begins with signatures from 112 persons, both foreign and Thai, from a wide variety of professions and positions—those involved in the media and law, laborers, academics, students, human rights activists, artists, those affected by the law, agriculturalists, those involved in religion, doctors, police, and so on. These 112 would help kick-off the campaign, but the campaign will maintain a list of any who share the belief that Article 112 needs to be addressed publicly.
Campaign Objectives:
1. in order to build and disseminate knowledge and understanding about the lese majeste law
2. in order to encourage debate, exchange, and solutions posed by the lese majeste law and its use
Campaign Kick-Off:
The hope is to kick-off the Article 112 Awareness Campaign in conjunction with an academic forum planned by the Rule of Law Group on 27 March 2011 at the Thai Prajan campus of Thammasart University (time to be determined). The event will be used to make a public announcement of the names of the 112 “charter members” (and any others) who are willing to publicly show support for the campaign. As there may be some of the 112 charter members who cannot attend, we ask for the attendance of anyone who can come. Those actually attending will be asked to donate 300 baht to the effort, and the first 112 persons attending the event will receive tee-shirts showing the Article 112 Awareness Campaign logo.
...............................................................................................................................
มาแอดใน FB กันได้ที่นี่ครับ http://www.facebook.com/pages/Article112-awareness-campaign/157348320988819
ผู้ร่วมรณรงค์แคมเปญเบื้องต้น 112 คน (ในนี้จะเป็นการชักชวนเพื่อนๆในหลังไมค์เพื่อเอาไปรวมกับรายชื่อจากสมาชิกท่านอื่นในที่ต่างๆที่จะร่วมกิจกรรมในวาระนี้ครับ)
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
อีเมลล์ article112lm@gmail.com
สามารถติดตามกิจกรรมของเครือข่ายได้ที่: http://article112.blogspot.com/
----------------------------------------------
ชื่อ-สกุล สาขาอาชีพ
ผู้กำกับภาพยนตร์
อโนชา สุวิชากรพงศ์ ผู้กำกับภาพยนตร์
อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์
ลี ชาตะเมธีกุล ผู้กำกับภาพยนตร์
ธัญสก พันสิทธิวรกุล คนทำหนัง
วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ผู้กำกับภาพยนตร์
ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ ผู้กำกับภาพยนตร์
นักเขียน
คำสิงห์ ศรีนอก นักเขียน
คันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง นักเขียนอิสระ/อาจารย์พิเศษด้านภาพยนตร์
กานต์ ทัศนภักดิ์ เขียนหนังสือ ทำงานศิลปะ
เกียรติศักดิ์ ประทานัง พ่อบ้าน/นักเขียน/นักแปลอิสระ
ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักแปล/นักเขียน
พิมใจ จูกลิ่น (เดือนวาด พิมวนา) นักเขียน
ประกาย ปรัชญา กวี/นักเขียน
สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียน/นักวิชาการอิสระ
สมเจตน์ ไชยเกิด นักเขียน
สุลักษ์ ศิวรักษ์ นักคิด/นักเขียน
สุรักษ์ สุขเสวี นักแต่งเพลง/นักเขียน
สุริยะ ครุฑพันธุ์ นักเขียน
วัฒน์ วรรลยางกูร นักเขียน
นักสหภาพแรงงาน
ชัยยุทธ พันธุ์น้อย รองประธานสหภาพแรงงานฟูรูกาวา เม็ททอน ไทยแลนท์
ชุมพล ภูมิพันธ์ เลขานุการกลุ่มสหภาพแรงงานเบอร์ล่า/นายทะเบียนสหภาพแรงงานไทยอคิริคไฟเบอร์
จิตรา คชเดช นักสหภาพแรงงาน
ณัณปภัส แก้วทอง ประธานสหภาพแรงงานมอลลิเก้ เฮลแคร์
ประวร มาดี เลขาธิการสหภาพแรงงานไทยอคิริคไฟเบอร์/ฝ่ายจัดตั้งสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ
พรมมา ภูมิพันธ์ ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานเบอร์ล่า/ฝ่ายประชาสัมพันธ์สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ
ศิริชัย สิงห์ทิศ ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย
สมหวัง โพธิ์ทองคำ ฝ่ายคุ้มครองแรงงานและสวัสดิการสหภาพแรงงานไทยอคิริคไฟเบอร์
โสภณ ชัยสันต์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์สหภาพแรงงานฟูรูกาวา เม็ททอนไทยแลนท์
วิภา มัจฉาชาติ กลุ่มคนงาน Try Arm
เกศแก้ว มีศรี รองประธานสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย
แพทย์/ทันตแพทย์
นพ.กิติภูมิ จุฑาสมิต แพทย์ชนบท
นพ.พงษ์ศักดิ์ ภูสิทธิ์สกุล แพทย์
ธีรวัฒน์ ทัศนภิรมย์ ทันตแพทย์/อาจารย์มหาวิทยาลัย
นักกฎหมาย/ทนายความ
อานนท์ นำภา ทนายความ สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์
ภาวิณี ชุมศรี ทนายความ
ประเวศ ประภานุกูล ทนายความ
ศิริกาญจน์ เจริญศิริ นักกฎหมาย
สมสกุล ศรีเมธากุล ทนายความ
เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ ทนายความ
ยูฮานี เจ๊ะกา นักกฎหมาย
นักวิชาการ
อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว อาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ อาจารย์มหาวิทยาลัย
เอกรินทร์ ต่วนศิริ นักวิจัยอิสระ
เก่งกิจ กิตติเรียงลาภ นักวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร อาจารย์วิทยาลัยสหวิทยาการ ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
นฤมล ทับจุมพล อาจารย์มหาวิทยาลัย
ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี อาจารย์มหาวิทยาลัย
พฤกษ์ เถาถวิล นักวิชาการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สมชาย ปรีชาศิลปกุล นักวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ทรงยศ แววหงส์ นักวิชาการ
ศรีประภา เพชรมีศรี ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
สุดา รังกุพันธุ์ อาจารย์มหาวิทยาลัย
ดร.ธงชัย วินิจจะกุล ศาสตราจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน
อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการสื่อสารมวลชน
เวียงรัฐ เนติโพธิ์ นักวิชาการ
วันรัก สุวรรณวัฒนา นักวิชาการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สื่อมวลชน
ชัยธวัช ตุลาธน กองบรรณาธิการ สนพ. ฟ้าเดียวกัน
จีรนุช เปรมชัยพร นักกิจกรรม/สื่อมวลชน
ชมวรรณ วีรวรวิทย์ สื่อมวลชน/นักเขียน/นักศึกษาปริญญาเอก
ชุติมา สมบูรณ์สุข ผู้ดูแลเนื้อหาเว็บไซด์
ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณาธิการประชาไท
กฤตวิทย์ หริมเทพาธิป นักเขียน/สื่อมวลชน
นวลน้อย ธรรมเสถียร นักข่าวอิสระ
นิธินันท์ ยอแสงรัตน์ สื่อมวลชน
พงษ์เลิศ พงษ์วนานต์ ประชาไท
ประวิตร โรจนพฤกษ์ นักข่าว
ปรียาลักษณ์ บุญมั่น สื่อมวลชนอิสระ
ทวีพร คุ้มเมธา นักข่าว
ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ นักเขียน/สื่อมวลชน
วิศวกร/สถาปนิก
อภิวัฒน์ แสงพัทธสีมา สถาปนิก/นักทำหนังสารคดีอิสระ
อภิรักษ์ วรรณสาธพ วิศวกร
เบญจมาส วินิจจะกูล สถาปนิก
โชคชัย วิทยาทอง วิศวกร
ปรมัษฐ์ ช่างสุพรรณ วิศวกร
นักศึกษา
ชาตรี สมนึก นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นภัทร สาเศียร นักศึกษา
นิธิวัต วรรณศิริ นักศึกษา/ผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรา112
พันธุ์ภูมิ ผุดผ่อง นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/ กลุ่มประชาคมจุฬาฯเพื่อประชาชน
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ นักศึกษาปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาฯ/ ผู้ช่วยประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต
ปราบ เลาหะโรจนพันธ์ นักศึกษา คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ม.ธรรมศาสตร์
ปราชญ์ ปัญจคุณาธร นักศึกษาวิชาปรัชญา รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด
ปฤณ เทพนรินทร์ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทิวสน สีอุ่น นักศึกษาปริญญาโท
ธนาวิ โชติประดิษฐ์ นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยลอนดอน
ศิลปิน
ชัยศิริ จิวะรังสรรค์ ศิลปิน
อ้อมขวัญ เวชยชัย นักวาดภาพประกอบหนังสือเด็ก
ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์ นักเขียนอิสระ/นักออกแบบ
นันทพล อาชวาคม อาชีพอิสระ
ศุภวุฒิ ศรีมหาราชา ครูดนตรี
ธีรกิจ วิจิตรอนันต์กุล ช่างภาพอิสระ
ธรัญญา สัตตบุศย์ นักพากย์
อ้อมขวัญ เวชยชัย นักวาดภาพประกอบหนังสือเด็ก
ศุราวุธ ดรุณวัติ นักออกแบบอิสระ/อาจารย์มหาวิทยาลัย
ประชาชน
อัญญกาญ จีระอัญการ ธุรกิจส่วนตัว/นักออกแบบอิสระ/นักเขียน
เนติ วิเชียรแสน คนทำหนังโฆษณา/ช่างภาพ
อธิคม จีระไพโรจน์กุล พนักงานบริษัทเอกชน
จิระยุทธ คงหิ้น พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
จอมพจน์ เกษมรุ่งชัยกิจ ผู้ประกอบการ
ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล นักโทษคดี 112
กิตติกา บุญมาไชย รับราชการ
นัชญ์ ณัยนันท์ รับจ้างทั่วไป
นีรนุช เนียมทรัพย์ ประชาชน
นันทพล อาชวาคม อาชีพอิสระ
พัลลภ เขมะพรรคพงษ์ นักธุรกิจ
พรเทพ สงวนถ้อย รับจ้างทั่วไป
พันธุ์ศักดิ์ ศรีเทพ ประชาชน
ศรายุธ ตั้งประเสริฐ ประชาชน
ศุราวุธ ดรุณวัติ นักออกแบบอิสระ/อาจารย์มหาวิทยาลัย
ตากวาง สุขเกษม รับจ้างอิสระ
เทวฤทธิ์ มณีฉาย ประชาชน
อัญชลี มณีโรจน์ ประชาชน
วาทินี ชัยถิรสกุล อาชีพอิสระ
วุฒิกร แสงรุ่งเรือง ประชาชน
จักรพันธ์ บริรักษ์ นักจัดรายการวิทยุ
ชนม์รัศมิ์ เกษโกวิท ประชาชน
นักกิจกรรม/นักสิทธิมนุษยชน
อรชพร นิมิตกุลพร นักสิทธิมนุษยชน
บารมี ชัยรัตน์ นักพัฒนาเอกชน
ชัยวัฒน์ ตระการรัตน์สันติ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
เอกชัย ปิ่นแก้ว นักสิทธิมนุษยชน/นักเขียน/นักศึกษาปริญญาเอก
จอน อึ๊งภากรณ์ นักพัฒนาสังคม/อดีต ส.ว. กทม.
จรรยา ยิ้มประเสริฐ กลุ่มปฏิบัติการประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย
ขวัญระวี วังอุดม นักสิทธิมนุษยชน
กรณ์อุมา พงษ์น้อย กลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก-กุยบุรี
พัชรี แซ่เอี้ยว เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน
พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ คนทำงานองค์กรพัฒนาเอกชน
ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ นักสิทธิมนุษยชน
พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ นักสิทธิมนุษยชน
พรพิศ ผักไหม นักต่อสู้สิทธิมนุษยชน/กิจการเพื่อสังคม
ศราวุฒิ ประทุมราช คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล
สุธารี วรรณศิริ นักกิจกรรมสิทธิมนุษยชน
ธีระพล คุ้มทรัพย์ นักเคลื่อนไหวฝึกหัด
วสันต์ พานิช ประธานเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน/ อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ยิ่งชีพ อัชชานนท์ นักพัฒนาเอกชน
นักวิชาการต่างประเทศ
แอนดรูว์ วอล์คเกอร์ นักวิจัยอาวุโส มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย
ดร.ชาร์ล คายส์ ศาสตราจารย์ภาควิชามานุษวิทยา มหาวิทยาลัยวอชิงตัน
ซี.เจ. ฮิงกิ กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย
เครก เจย์ เรย์โนลด์ นักวิชาการ
เดวิด สเตรคฟัส นักวิชาการอิสระ
เอว่า แฮนน์สัน อาจารย์อาวุโส มหาวิทยาลัยสต็อกโฮล์ม
เควิน เฮวินสัน นักวิชาการ ม.นอร์ธแคโรไลน่า-แชฟเพ่นฮิลล์
ไมเคิล โอ คอนเนอรส์ นักวิชาการ มหาวิทยาลัยลา โทรบ ออสเตรเลีย
ไมเคิล มอนเตซาโน นักวิจัย มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์
ราเชล วี. แฮริสัน นักวิชาการ มหาวิทยาลัยลอนดอน
ธีรเรอิล์ล์ ฮาเบอร์คอรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการเปลี่ยนแปลงสังคมและการเมือง, มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย
ตัวเลขผู้ที่ถูกกล่าวหาและถูกดำเนินคดีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในระยะเวลาห้าถึงหกปีที่ผ่านมา ในระหว่างปี 2535 – 2547 ตัวเลขของคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่มีการฟ้องร้องกันในศาลเฉลี่ยแล้วมีน้อยกว่า 10 คดี ดังนั้นผลกระทบจากกฎหมายดังกล่าวจึงยังจำกัดอยู่ในวงแคบ แต่ผลการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ชี้ให้เห็นว่า ระหว่างปี 2548 – 2552 ตัวเลขของคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมีมากถึง 547 คดี ที่ถูกนำไปพิจารณาคดีทั้งในระดับศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา เฉลี่ยแล้วปีละ 109 คดี และมีที่ศาลมีคำตัดสินว่าเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแล้วจำนวน247 คดี ในปี 2547 เพียงปีเดียวมีการดำเนินคดีข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในระดับศาลชั้นต้นมากถึง 164 คดี ดังนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเน้นย้ำให้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานนุภาพเป็นประเด็นที่ผู้คนในสังคมสามารถพูดคุย ถกเถียงได้อย่างเปิดเผย ด้วยหวังว่าจะมีทางออกในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากกฎหมายดังกล่าวในท้ายที่สุด
หลักการและเหตุผล
จุดประสงค์ของการริเริ่มการรณรงค์เพื่อความตระหนักรู้ในกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ คือ การรวบรวมบุคคล องค์กร และเครือข่ายต่างๆ ที่มีความห่วงกังวลต่อปัญหาที่เกิดจากกฎหมายอาญามาตรา 112 และการบังคับใช้กฎหมาย ท่าทีของการรณรงค์ครั้งนี้คือ สร้างให้กฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นประเด็นที่ผู้คนในสังคมสามารถพูดคุย ถกเถียงได้อย่างเปิดเผย พวกเรามีความเห็นว่ากฎหมายอาญามาตรา 112 และการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเป็นปัจจัยคุกคามต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกซึ่งสิทธิดังกล่าวเป็นกลไกที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อสังคมประชาธิปไตย ไม่ว่าบุคคลนั้นจะต้องการแก้ไข หรือยกเลิก หรือแม้แต่สนับสนุนกฎหมายดังกล่าวก็สามารถเข้าร่วมการรณรงค์เพื่อความตระหนักรู้ในกฎหมายอาญามาตรา 112 ได้ เพียงแต่บุคคลนั้นสนใจถึงผลกระทบที่ตามมาจากการใช้กฎหมายดังกล่าว
ชื่อภาษาไทยของการรณรงค์ครั้งนี้คือ “มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้ในกฎหมายหมิ่นฯ”
และชื่อภาษาอังกฤษ คือ “Article 112: Awareness Campaign”
การรณรงค์จะเปิดตัวด้วยการแถลงรายชื่อบุคคลจากหลากหลายสาขาอาชีพทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ จำนวน 112 คน ซึ่งรวมถึง สื่อมวลชน แรงงาน นักกฎหมาย นักวิชาการ นักเรียน นักสิทธิมนุษยชน ศิลปิน ผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายดังกล่าวเกษตรกร ผู้ที่อยู่ในแวดวงทางศาสนา แพทย์ และเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยบุคคลทั้ง 112 คนนี้จะเป็นจุดเริ่มต้น อย่างไรก็ตามยินดีรับรายชื่อเพิ่มเติมจากผู้ที่เห็นพ้องแนวคิดว่า มาตรา 112 นั้นควรได้รับการถกเถียงกันอย่างเปิดเผย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นฯ
2. เพื่อผลักดันให้เกิดการถกเถียง แลกเปลี่ยน และหาทางออกเกี่ยวกับกฎหมายหมิ่นฯ
รูปแบบกิจกรรมเบื้องต้น
เปิดตัวการรณรงค์ มาตรา 112: รณรงค์เพื่อความตื่นรู้ โดยขอจัดต่อจากเวทีวิชาการเรื่องกฎหมายหมิ่นฯของกลุ่มนิติราษฎร์ วันที่ 27 มีนาคม 2554 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ (เวลาจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง) ในงานดังกล่าวจะมีการแถลงรายชื่อบุคคล 112 คน หรือใครก็ตาม ที่ยินดีจะแสดงตนต่อสาธารณะว่าสนับสนุนการรณรงค์ในครั้งนี้ และอาจจะมีบุคคลผู้ร่วมลงชื่อบางคนที่ไม่สามารถเข้าร่วมงานในวันดังกล่าวได้ เราจึงขอเชิญให้ทุกท่านที่สามารถมาได้เข้าร่วมงาน ผู้ที่สามารถมาร่วมงานเปิดตัวได้จริงจะต้องจ่ายเงิน 300 บาทเพื่อเป็นทุนสนับสนุนการทำงาน และบุคคล 112 ท่านแรกที่เข้าร่วมการรณรงค์จะได้รับเสื้อยืดที่มีโลโก้ของการณรงค์เป็นที่ระลึก
*** กรุณาแจ้งรายชื่อมาที่ article112lm@gmail.com
หมายเหตุ: 112 คนแรก ใช้เพื่อแสดงตัวตนในการเปิดตัว ไม่ปิดกั้นสำหรับคนที่สนใจจะเข้ามาร่วมในภายหลัง
Article 112: Thai Lese Majeste Law Awareness Campaign
(Article 112 Awareness Campaign)
Context:
The number of those accused and prosecuted on charges of lese majeste, Article 112 of the Thai criminal code, has shown a shocking increase over the past five to six years. From 1992 to 2004, there was less than an average of less 10 cases of lese majeste tried in Thai courts, and thus the law’s effect was limited to a rather narrow circle. Recent scholarship indicates that from 2005 to 2009 there were 547 cases of lese majeste sent to trial on the Court of First Instance, the Appeals Court, and the Supreme Court levels—an average of 109 cases per year—during which 274 judgments were handed down for lese majeste. In 2009, there were an all-time high 164 lese majeste cases tried in the Court of First Instance. It is therefore necessary for the issue of lese majeste to be highlighted and made into a public issue in the hope that eventually there will be a change in this law.
Rationale:
The purpose of establishing the Article 112 Lese Majeste Awareness Campaign is to bring together individuals, organizations, and networks concerned about problems caused by Article 112 and its use. The position of the Article 112 Campaign is simply to make Article 112 a public issue. We believe that Article 112 (and its use) poses a serious threat to the right of freedom of expression and as such it cripples a key mechanism necessary for any democratic society. Regardless of whether one is wanting to amend or abolish the law, or even whether one supports the law but is concerned by the effects of its use, all are welcome to join the Article 112 Awareness Campaign.
The Thai and English name of the campaign differs as one is aimed at a national audience while the other focuses on an international audience. The Thai name is essentially the “Article 112 Awareness Campaign.” In English, it is the “Article 112: Thai Lese Majeste Law Awareness Campaign.”
The campaign begins with signatures from 112 persons, both foreign and Thai, from a wide variety of professions and positions—those involved in the media and law, laborers, academics, students, human rights activists, artists, those affected by the law, agriculturalists, those involved in religion, doctors, police, and so on. These 112 would help kick-off the campaign, but the campaign will maintain a list of any who share the belief that Article 112 needs to be addressed publicly.
Campaign Objectives:
1. in order to build and disseminate knowledge and understanding about the lese majeste law
2. in order to encourage debate, exchange, and solutions posed by the lese majeste law and its use
Campaign Kick-Off:
The hope is to kick-off the Article 112 Awareness Campaign in conjunction with an academic forum planned by the Rule of Law Group on 27 March 2011 at the Thai Prajan campus of Thammasart University (time to be determined). The event will be used to make a public announcement of the names of the 112 “charter members” (and any others) who are willing to publicly show support for the campaign. As there may be some of the 112 charter members who cannot attend, we ask for the attendance of anyone who can come. Those actually attending will be asked to donate 300 baht to the effort, and the first 112 persons attending the event will receive tee-shirts showing the Article 112 Awareness Campaign logo.
...............................................................................................................................
มาแอดใน FB กันได้ที่นี่ครับ http://www.facebook.com/pages/Article112-awareness-campaign/157348320988819
ผู้ร่วมรณรงค์แคมเปญเบื้องต้น 112 คน (ในนี้จะเป็นการชักชวนเพื่อนๆในหลังไมค์เพื่อเอาไปรวมกับรายชื่อจากสมาชิกท่านอื่นในที่ต่างๆที่จะร่วมกิจกรรมในวาระนี้ครับ)
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
อีเมลล์ article112lm@gmail.com
สามารถติดตามกิจกรรมของเครือข่ายได้ที่: http://article112.blogspot.com/
----------------------------------------------
ชื่อ-สกุล สาขาอาชีพ
ผู้กำกับภาพยนตร์
อโนชา สุวิชากรพงศ์ ผู้กำกับภาพยนตร์
อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์
ลี ชาตะเมธีกุล ผู้กำกับภาพยนตร์
ธัญสก พันสิทธิวรกุล คนทำหนัง
วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ผู้กำกับภาพยนตร์
ไพสิฐ พันธุ์พฤกษชาติ ผู้กำกับภาพยนตร์
นักเขียน
คำสิงห์ ศรีนอก นักเขียน
คันฉัตร รังษีกาญจน์ส่อง นักเขียนอิสระ/อาจารย์พิเศษด้านภาพยนตร์
กานต์ ทัศนภักดิ์ เขียนหนังสือ ทำงานศิลปะ
เกียรติศักดิ์ ประทานัง พ่อบ้าน/นักเขียน/นักแปลอิสระ
ภัควดี วีระภาสพงษ์ นักแปล/นักเขียน
พิมใจ จูกลิ่น (เดือนวาด พิมวนา) นักเขียน
ประกาย ปรัชญา กวี/นักเขียน
สฤณี อาชวานันทกุล นักเขียน/นักวิชาการอิสระ
สมเจตน์ ไชยเกิด นักเขียน
สุลักษ์ ศิวรักษ์ นักคิด/นักเขียน
สุรักษ์ สุขเสวี นักแต่งเพลง/นักเขียน
สุริยะ ครุฑพันธุ์ นักเขียน
วัฒน์ วรรลยางกูร นักเขียน
นักสหภาพแรงงาน
ชัยยุทธ พันธุ์น้อย รองประธานสหภาพแรงงานฟูรูกาวา เม็ททอน ไทยแลนท์
ชุมพล ภูมิพันธ์ เลขานุการกลุ่มสหภาพแรงงานเบอร์ล่า/นายทะเบียนสหภาพแรงงานไทยอคิริคไฟเบอร์
จิตรา คชเดช นักสหภาพแรงงาน
ณัณปภัส แก้วทอง ประธานสหภาพแรงงานมอลลิเก้ เฮลแคร์
ประวร มาดี เลขาธิการสหภาพแรงงานไทยอคิริคไฟเบอร์/ฝ่ายจัดตั้งสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ
พรมมา ภูมิพันธ์ ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานเบอร์ล่า/ฝ่ายประชาสัมพันธ์สหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอฯ
ศิริชัย สิงห์ทิศ ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย
สมหวัง โพธิ์ทองคำ ฝ่ายคุ้มครองแรงงานและสวัสดิการสหภาพแรงงานไทยอคิริคไฟเบอร์
โสภณ ชัยสันต์ ฝ่ายประชาสัมพันธ์สหภาพแรงงานฟูรูกาวา เม็ททอนไทยแลนท์
วิภา มัจฉาชาติ กลุ่มคนงาน Try Arm
เกศแก้ว มีศรี รองประธานสหพันธ์แรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและผลิตภัณฑ์หนังแห่งประเทศไทย
แพทย์/ทันตแพทย์
นพ.กิติภูมิ จุฑาสมิต แพทย์ชนบท
นพ.พงษ์ศักดิ์ ภูสิทธิ์สกุล แพทย์
ธีรวัฒน์ ทัศนภิรมย์ ทันตแพทย์/อาจารย์มหาวิทยาลัย
นักกฎหมาย/ทนายความ
อานนท์ นำภา ทนายความ สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์
ภาวิณี ชุมศรี ทนายความ
ประเวศ ประภานุกูล ทนายความ
ศิริกาญจน์ เจริญศิริ นักกฎหมาย
สมสกุล ศรีเมธากุล ทนายความ
เยาวลักษ์ อนุพันธุ์ ทนายความ
ยูฮานี เจ๊ะกา นักกฎหมาย
นักวิชาการ
อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว อาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ อาจารย์มหาวิทยาลัย
เอกรินทร์ ต่วนศิริ นักวิจัยอิสระ
เก่งกิจ กิตติเรียงลาภ นักวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เกรียงศักดิ์ ธีระโกวิทขจร อาจารย์วิทยาลัยสหวิทยาการ ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
นฤมล ทับจุมพล อาจารย์มหาวิทยาลัย
ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี อาจารย์มหาวิทยาลัย
พฤกษ์ เถาถวิล นักวิชาการ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สมชาย ปรีชาศิลปกุล นักวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ทรงยศ แววหงส์ นักวิชาการ
ศรีประภา เพชรมีศรี ศูนย์สิทธิมนุษยชนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
สุดา รังกุพันธุ์ อาจารย์มหาวิทยาลัย
ดร.ธงชัย วินิจจะกุล ศาสตราจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน
อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ นักวิชาการสื่อสารมวลชน
เวียงรัฐ เนติโพธิ์ นักวิชาการ
วันรัก สุวรรณวัฒนา นักวิชาการ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สื่อมวลชน
ชัยธวัช ตุลาธน กองบรรณาธิการ สนพ. ฟ้าเดียวกัน
จีรนุช เปรมชัยพร นักกิจกรรม/สื่อมวลชน
ชมวรรณ วีรวรวิทย์ สื่อมวลชน/นักเขียน/นักศึกษาปริญญาเอก
ชุติมา สมบูรณ์สุข ผู้ดูแลเนื้อหาเว็บไซด์
ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณาธิการประชาไท
กฤตวิทย์ หริมเทพาธิป นักเขียน/สื่อมวลชน
นวลน้อย ธรรมเสถียร นักข่าวอิสระ
นิธินันท์ ยอแสงรัตน์ สื่อมวลชน
พงษ์เลิศ พงษ์วนานต์ ประชาไท
ประวิตร โรจนพฤกษ์ นักข่าว
ปรียาลักษณ์ บุญมั่น สื่อมวลชนอิสระ
ทวีพร คุ้มเมธา นักข่าว
ธิดา ผลิตผลการพิมพ์ นักเขียน/สื่อมวลชน
วิศวกร/สถาปนิก
อภิวัฒน์ แสงพัทธสีมา สถาปนิก/นักทำหนังสารคดีอิสระ
อภิรักษ์ วรรณสาธพ วิศวกร
เบญจมาส วินิจจะกูล สถาปนิก
โชคชัย วิทยาทอง วิศวกร
ปรมัษฐ์ ช่างสุพรรณ วิศวกร
นักศึกษา
ชาตรี สมนึก นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นภัทร สาเศียร นักศึกษา
นิธิวัต วรรณศิริ นักศึกษา/ผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรา112
พันธุ์ภูมิ ผุดผ่อง นิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/ กลุ่มประชาคมจุฬาฯเพื่อประชาชน
พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ นักศึกษาปริญญาโทเศรษฐศาสตร์การเมือง จุฬาฯ/ ผู้ช่วยประสานงานเครือข่ายพลเมืองเน็ต
ปราบ เลาหะโรจนพันธ์ นักศึกษา คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ม.ธรรมศาสตร์
ปราชญ์ ปัญจคุณาธร นักศึกษาวิชาปรัชญา รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด
ปฤณ เทพนรินทร์ นักศึกษาปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทิวสน สีอุ่น นักศึกษาปริญญาโท
ธนาวิ โชติประดิษฐ์ นักศึกษาปริญญาเอก มหาวิทยาลัยลอนดอน
ศิลปิน
ชัยศิริ จิวะรังสรรค์ ศิลปิน
อ้อมขวัญ เวชยชัย นักวาดภาพประกอบหนังสือเด็ก
ภาณุ บุญพิพัฒนาพงศ์ นักเขียนอิสระ/นักออกแบบ
นันทพล อาชวาคม อาชีพอิสระ
ศุภวุฒิ ศรีมหาราชา ครูดนตรี
ธีรกิจ วิจิตรอนันต์กุล ช่างภาพอิสระ
ธรัญญา สัตตบุศย์ นักพากย์
อ้อมขวัญ เวชยชัย นักวาดภาพประกอบหนังสือเด็ก
ศุราวุธ ดรุณวัติ นักออกแบบอิสระ/อาจารย์มหาวิทยาลัย
ประชาชน
อัญญกาญ จีระอัญการ ธุรกิจส่วนตัว/นักออกแบบอิสระ/นักเขียน
เนติ วิเชียรแสน คนทำหนังโฆษณา/ช่างภาพ
อธิคม จีระไพโรจน์กุล พนักงานบริษัทเอกชน
จิระยุทธ คงหิ้น พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
จอมพจน์ เกษมรุ่งชัยกิจ ผู้ประกอบการ
ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล นักโทษคดี 112
กิตติกา บุญมาไชย รับราชการ
นัชญ์ ณัยนันท์ รับจ้างทั่วไป
นีรนุช เนียมทรัพย์ ประชาชน
นันทพล อาชวาคม อาชีพอิสระ
พัลลภ เขมะพรรคพงษ์ นักธุรกิจ
พรเทพ สงวนถ้อย รับจ้างทั่วไป
พันธุ์ศักดิ์ ศรีเทพ ประชาชน
ศรายุธ ตั้งประเสริฐ ประชาชน
ศุราวุธ ดรุณวัติ นักออกแบบอิสระ/อาจารย์มหาวิทยาลัย
ตากวาง สุขเกษม รับจ้างอิสระ
เทวฤทธิ์ มณีฉาย ประชาชน
อัญชลี มณีโรจน์ ประชาชน
วาทินี ชัยถิรสกุล อาชีพอิสระ
วุฒิกร แสงรุ่งเรือง ประชาชน
จักรพันธ์ บริรักษ์ นักจัดรายการวิทยุ
ชนม์รัศมิ์ เกษโกวิท ประชาชน
นักกิจกรรม/นักสิทธิมนุษยชน
อรชพร นิมิตกุลพร นักสิทธิมนุษยชน
บารมี ชัยรัตน์ นักพัฒนาเอกชน
ชัยวัฒน์ ตระการรัตน์สันติ สมัชชาสังคมก้าวหน้า
เอกชัย ปิ่นแก้ว นักสิทธิมนุษยชน/นักเขียน/นักศึกษาปริญญาเอก
จอน อึ๊งภากรณ์ นักพัฒนาสังคม/อดีต ส.ว. กทม.
จรรยา ยิ้มประเสริฐ กลุ่มปฏิบัติการประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย
ขวัญระวี วังอุดม นักสิทธิมนุษยชน
กรณ์อุมา พงษ์น้อย กลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก-กุยบุรี
พัชรี แซ่เอี้ยว เจ้าหน้าที่องค์กรพัฒนาเอกชน
พิมพ์สิริ เพชรน้ำรอบ คนทำงานองค์กรพัฒนาเอกชน
ปกป้อง เลาวัณย์ศิริ นักสิทธิมนุษยชน
พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ นักสิทธิมนุษยชน
พรพิศ ผักไหม นักต่อสู้สิทธิมนุษยชน/กิจการเพื่อสังคม
ศราวุฒิ ประทุมราช คณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล
สุธารี วรรณศิริ นักกิจกรรมสิทธิมนุษยชน
ธีระพล คุ้มทรัพย์ นักเคลื่อนไหวฝึกหัด
วสันต์ พานิช ประธานเครือข่ายนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน/ อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
ยิ่งชีพ อัชชานนท์ นักพัฒนาเอกชน
นักวิชาการต่างประเทศ
แอนดรูว์ วอล์คเกอร์ นักวิจัยอาวุโส มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย
ดร.ชาร์ล คายส์ ศาสตราจารย์ภาควิชามานุษวิทยา มหาวิทยาลัยวอชิงตัน
ซี.เจ. ฮิงกิ กลุ่มเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์แห่งประเทศไทย
เครก เจย์ เรย์โนลด์ นักวิชาการ
เดวิด สเตรคฟัส นักวิชาการอิสระ
เอว่า แฮนน์สัน อาจารย์อาวุโส มหาวิทยาลัยสต็อกโฮล์ม
เควิน เฮวินสัน นักวิชาการ ม.นอร์ธแคโรไลน่า-แชฟเพ่นฮิลล์
ไมเคิล โอ คอนเนอรส์ นักวิชาการ มหาวิทยาลัยลา โทรบ ออสเตรเลีย
ไมเคิล มอนเตซาโน นักวิจัย มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์
ราเชล วี. แฮริสัน นักวิชาการ มหาวิทยาลัยลอนดอน
ธีรเรอิล์ล์ ฮาเบอร์คอรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการเปลี่ยนแปลงสังคมและการเมือง, มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย
พิพากษาจำคุก 'ดา' 18 ปี เหตุปราศรัย 'หมิ่นฯ'
ที่มา: ประชาไท, มติชนออนไลน์, ASTV ผู้จัดการออนไลน์, ThaiENews,ไทยรัฐ, โพสต์ ทูเดย์, คมชัดลึก
ตัดสินให้ผิดตามฟ้อง เรียงกระทงลงโทษกรรมละ 6 ปี รวม 18 ปี ทนายเตรียมสู้คดีชั้นอุทธรณ์ ประชาชน 30 แห่ฟัง สื่อเสนอข่าว 'พิพากษา' พร้อมเพรียง 'ผู้จัดการ' ลงคำตัดสินละเอียดกว่าใคร 'รอยเตอร์' ชี้ ถือเป็นการใช้ก.กำหราบฝ่ายต่อต้านรัฐบาลและเสรีภาพในการแสดงออก ด้านผอ.เรือนจำเผยอาจให้ 'ดา' เป็นโฆษก
เรียงกระทงลงโทษทุกกรรม 3 กระทง 18 ปี
รายงานข่าวจากหลายสำนักระบุว่า เมื่อเวลา 9.00 น. วันนี้ (28 ส.ค. 52) ที่ห้องพิจารณาคดี 904 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ผู้พิพากษาและองค์คณะได้ขึ้นบัลลังก์อ่านคำตัดสินคดีที่ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ 'ดา ตอร์ปิโด' เป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และพระราชินี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือกฎหมาย 'หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ' เหตุจากการปราศรัยที่สนามหลวง 3 ครั้ง คือเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 51, 13 มิ.ย. 51, 18 ก.ค. 51 และ 19 ก.ค. 51
ทั้งนี้ คำตัดสินระบุว่า จากพยานหลักฐานจำเลยได้กระทำผิดจริงตามข้อกล่าวหา และเป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน ซึ่งศาลได้พิพากษาให้เรียงกระทงลงโทษทุกกรรม โดยลงโทษจำคุก 3 กระทง กระทงละ 6 ปี รวมจำคุก 18 ปี
ประเวศ ประภานุกูล ทนายความของดารณี ได้เปิดเผยภายหลังศาลมีคำพิพากษาว่า จะเตรียมการยื่นอุทธรณ์เพื่อสู้คดีต่อไป ส่วนจะยื่นขออภัยโทษหรือไม่นั้น ต้องรอดูผลคดีในชั้นฎีกาก่อน
ทนายขอ 'รอการตัดสิน' - ศาลยกคำร้อง
สำหรับกรณีที่ศาลอาญาได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 52 ให้พิจารณาคดีนี้โดยลับ ห้ามมิให้ประชาชนทั่วไปเข้าฟัง โดยอ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 177 ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 52 ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้อง โดยอ้างสิทธิขั้นพื้นฐานในกระบวนพิจารณาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 ,40 (2) และ 211 ขอให้ศาลอาญาส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เนื่องจากฝ่ายจำเลยเห็นว่าบทบัญญัติมาตรา 117 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่ศาลอาศัยอำนาจสั่งให้การพิจารณาคดีลับนั้น ขัดและแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญยังไม่เคยมีการวินิจฉัยเรื่องนี้ และขอให้ศาลอาญารอการพิจารณาพิพากษาคดีนี้ไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ศาลอาญาได้พิจารณายกคำร้องดังกล่าวในวันเดียวกัน โดยระบุว่า การพิจารณาลับนั้นไม่ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 211 เนื่องจากจำเลยมีทนายแก้ต่าง และสามารถนำพยานหลักฐานมายังศาลได้อย่างครบถ้วน การพิจารณาคดีจึงดำเนินต่อไป[1]
ต่อมา ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญด้วยตนเอง เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 52 โดยศาลรัฐธรรมนูญได้ลงประทับรับคำร้องดังกล่าวแล้ว จากนั้นทนายจำเลยได้นำสำเนาคำร้องมายื่นต่อศาลอาญาในวันที่ 28 ส.ค. 52 ก่อนที่จะมรการอานคำตัดสินคดี เพื่อร้องขอให้รอการตัดสินคดีนี้ไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่องค์คณะผู้พิพากษาวินิจฉัยแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องเช่นเดิม ก่อนจะอ่านคำพิพากษาดังกล่าว
ทั้งนี้ ในวันตัดสินคดีทนายจำเลยได้แจกจ่ายสำเนาเอกสารคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญแก่ประชาชนและผู้สื่อข่าวด้วย
ประชาชน 30 ร่วมเข้าฟัง
ผู้สื่อข่าวหลายสำนักรายงานว่า ได้มีประชาชนประมาณ 30 คน รวมทั้งผศ.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังการตัดสินคดีนี้
รายงานข่าวในประชาไทระบุว่า ภายหลังที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว ดารณีได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวและประชาชนที่มาว่า "นี่คือยุคของการต่อสู้ทางความคิด" ก่อนจะเดินทางไปยังห้องพิจารณา 908 ต่อทันที เพื่อรับฟังการการสืบพยานจำเลย ในคดีที่พล.อ. สพรั่ง กัลยาณมิตร ฟ้องหมิ่นประมาท ซึ่งศาลได้นัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 16 ก.ย. 52
สื่อไทยพร้อมใจเสนอข่าว - 'ผู้จัดการ' ลงคำตัดสินละเอียดกว่าใคร
การตัดสินคดีนี้ได้รับความสนใจและถูกนำเสนอเป็นข่าวโดยสื่อมวลชนในประเทศจำนวนมาก อาทิ ประชาไท, มติชนออนไลน์, ASTV ผู้จัดการออนไลน์,ThaiENews, ไทยรัฐ, โพสต์ ทูเดย์, คมชัดลึก , MCOT News ฯลฯ
โดยเวบไซต์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์, ได้รายงานข่าวนี้ภายใต้หัวข้อ 'ขัง 18 ปี “นังดา” โอหัง! อาฆาตเบื้องสูง' ซึ่งในเนื้อข่าวได้นำเสนอคำตัดสินคดีอย่างละเอียดกว่าที่ปรากฏในสื่ออื่นๆ ดังนี้
เตรียมย้ายแดน ผอ.เรือนจำเผยอาจให้เป็นโฆษก
ด้านรายงานข่าวในเวบไซต์มติชนออนไลน์ ระบุว่า อังคนึง เล็บนาค ผู้อำนวยการทัณฑสถานหญิงกลาง ได้เปิดเผยในวันเดียวกันว่า ทางเรือนจำจะแยกดารณีออกจากแดนแรกรับไปคุมขังยังแดนนักโทษทั่วไป เพราะถือว่าเป็นนักโทษเด็ดขาด จากนั้นจะให้ทำงานตามโปรมแกรมที่จัดไว้ อาทิ เย็บปักถักร้อย ทำอาหาร งานห้องสมุด งานสาธารณะ รักษาความสะอาดเรือนจำ งานคอมพิวเตอร์ หรืองานโฆษกซึ่งมีหน้าที่ประชาสัมพันธ์เมื่อทางทัณฑสถานจัดกิจกรรม แต่ขณะนี้ยังไม่ทราบว่าดารณีต้องการทำงานประเภทใด ต้องให้เจ้าตัวเป็นผู้ตัดสินใจ แต่ถ้าชอบการพูด อาจจะทำหน้าที่เป็นโฆษกประจำคุก อย่างไรก็ตามต้องได้รับการเสียงโหวตจากเพื่อนผู้ต้องขัง ว่าเหมาะสมหรือไม่
ผอ.ทัณฑสถานฯเปิดเผยเพิ่มเติมว่า สำหรับสภาพจิตใจของดารณีนั้น ขณะนี้ตนเห็นว่าสามารถปรับตัวเข้ากับเพื่อนๆ ได้แล้ว แต่ตนก็เชื่อว่าการฟังคำตัดสินวันนี้ (28 ส.ค.) อาจทำให้รู้สึกเครียดบ้าง เพราะต้องถูกจำคุกถึง 18 ปี โดยทางเรือนจำได้เตรียมจัดเจ้าหน้าที่และนักโทษช่วยดูแลในช่วงนี้แล้ว ซึ่งคาดว่าไม่น่ามีปัญหาอะไร เพราะดารณีเคยอยู่มาแล้วช่วงหนึ่ง น่าจะทำใจได้บ้างแล้ว
ผอ.ทัณฑสถานฯกล่าวด้วยว่า ดารณีเป็นนักโทษชั้นกลาง มีพฤติกรรมดี ไม่ก่อความวุ่นวาย และสามารถได้รับการพิจารณาเลื่อนเป็นนักโทษชั้นดี ชั้นดีมาก และชั้นเยี่ยม ได้เช่นเดียวกับนักโทษรายอื่นๆ ซึ่งการเลื่อนชั้นดังกล่าว คณะกรรมการจะพิจารณาจากความประพฤติขณะต้องโทษ ซึ่งความประพฤติของนักโทษแต่ละคนจะถูกบันทึกไว้เป็นคะแนนสะสม เมื่อถึงวันพิจารณาก็จะนำสมุดที่บันทึกนี้มาพิจารณาประกอบ โดยหากได้เลื่อนเป็นนักโทษชั้นดีก็จะได้ลดวันต้องโทษลง 3 วัน ชั้นดีมากได้ลด 4 วัน ส่วนชั้นเยี่ยมได้ลด 5 วัน
'รอยเตอร์' ชี้ ถือเป็นการใช้กม.กำหราบ
เวบไซต์ ThaiENews ได้เผยแพร่รายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์เกี่ยวกับการตัดสินครั้งนี้ ซึ่งรอยเตอร์ได้ชี้ว่า ผลการตัดสินให้ดารณีติดคุก 18 ปีนั้น ถือเป็นการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกำหราบฝ่ายต่อต้านรัฐบาล และเสรีภาพในการแสดงออก ในประเทศไทย พร้อมทั้งให้ข้อมูลด้วยว่า ได้มีการพิจารณาคดีนี้เป็นการลับโดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคง ซึ่งเรื่องนี้องค์การนิรโทษกรรมสากลได้เคยทำจดหมายเปิดผนึกคัดค้านมาแล้ว เนื่องจากเห็นว่าจะทำให้การพิจารณาคดีไม่เป็นธรรมต่อจำเลย
ในรายงานเดียวกันของรอยเตอร์ ยังได้อ้างถึงคำให้สัมภาษณ์ของดารณี ที่ระบุว่า เธอไม่มีจุดมุ่งหมายทางการเมืองที่จะเคลื่อนไหวให้ยกเลิกสถาบันกษัตริย์แต่อย่างใด แต่สนับสนุน "ความยั่งยืนของสถาบันกษัตริย์แบบเดียวกับที่ดำรงอยู่ในสหราชอาณาจักรและญี่ปุ่น"
[1] ดูรายละเอียดใน 'กรณีดารณี ชาญเชิงศิลปกุล' 25 มิถุนายน 2552.
ตัดสินให้ผิดตามฟ้อง เรียงกระทงลงโทษกรรมละ 6 ปี รวม 18 ปี ทนายเตรียมสู้คดีชั้นอุทธรณ์ ประชาชน 30 แห่ฟัง สื่อเสนอข่าว 'พิพากษา' พร้อมเพรียง 'ผู้จัดการ' ลงคำตัดสินละเอียดกว่าใคร 'รอยเตอร์' ชี้ ถือเป็นการใช้ก.กำหราบฝ่ายต่อต้านรัฐบาลและเสรีภาพในการแสดงออก ด้านผอ.เรือนจำเผยอาจให้ 'ดา' เป็นโฆษก
เรียงกระทงลงโทษทุกกรรม 3 กระทง 18 ปี
รายงานข่าวจากหลายสำนักระบุว่า เมื่อเวลา 9.00 น. วันนี้ (28 ส.ค. 52) ที่ห้องพิจารณาคดี 904 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ผู้พิพากษาและองค์คณะได้ขึ้นบัลลังก์อ่านคำตัดสินคดีที่ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ 'ดา ตอร์ปิโด' เป็นจำเลย ในความผิดฐานหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และพระราชินี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือกฎหมาย 'หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ' เหตุจากการปราศรัยที่สนามหลวง 3 ครั้ง คือเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 51, 13 มิ.ย. 51, 18 ก.ค. 51 และ 19 ก.ค. 51
ทั้งนี้ คำตัดสินระบุว่า จากพยานหลักฐานจำเลยได้กระทำผิดจริงตามข้อกล่าวหา และเป็นการกระทำผิดหลายกรรมต่างกัน ซึ่งศาลได้พิพากษาให้เรียงกระทงลงโทษทุกกรรม โดยลงโทษจำคุก 3 กระทง กระทงละ 6 ปี รวมจำคุก 18 ปี
ประเวศ ประภานุกูล ทนายความของดารณี ได้เปิดเผยภายหลังศาลมีคำพิพากษาว่า จะเตรียมการยื่นอุทธรณ์เพื่อสู้คดีต่อไป ส่วนจะยื่นขออภัยโทษหรือไม่นั้น ต้องรอดูผลคดีในชั้นฎีกาก่อน
ทนายขอ 'รอการตัดสิน' - ศาลยกคำร้อง
สำหรับกรณีที่ศาลอาญาได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 52 ให้พิจารณาคดีนี้โดยลับ ห้ามมิให้ประชาชนทั่วไปเข้าฟัง โดยอ้างตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 177 ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 52 ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้อง โดยอ้างสิทธิขั้นพื้นฐานในกระบวนพิจารณาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 ,40 (2) และ 211 ขอให้ศาลอาญาส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เนื่องจากฝ่ายจำเลยเห็นว่าบทบัญญัติมาตรา 117 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่ศาลอาศัยอำนาจสั่งให้การพิจารณาคดีลับนั้น ขัดและแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญยังไม่เคยมีการวินิจฉัยเรื่องนี้ และขอให้ศาลอาญารอการพิจารณาพิพากษาคดีนี้ไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่ศาลอาญาได้พิจารณายกคำร้องดังกล่าวในวันเดียวกัน โดยระบุว่า การพิจารณาลับนั้นไม่ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 211 เนื่องจากจำเลยมีทนายแก้ต่าง และสามารถนำพยานหลักฐานมายังศาลได้อย่างครบถ้วน การพิจารณาคดีจึงดำเนินต่อไป[1]
ต่อมา ทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญด้วยตนเอง เมื่อวันที่ 27 ส.ค. 52 โดยศาลรัฐธรรมนูญได้ลงประทับรับคำร้องดังกล่าวแล้ว จากนั้นทนายจำเลยได้นำสำเนาคำร้องมายื่นต่อศาลอาญาในวันที่ 28 ส.ค. 52 ก่อนที่จะมรการอานคำตัดสินคดี เพื่อร้องขอให้รอการตัดสินคดีนี้ไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แต่องค์คณะผู้พิพากษาวินิจฉัยแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องเช่นเดิม ก่อนจะอ่านคำพิพากษาดังกล่าว
ทั้งนี้ ในวันตัดสินคดีทนายจำเลยได้แจกจ่ายสำเนาเอกสารคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญแก่ประชาชนและผู้สื่อข่าวด้วย
ประชาชน 30 ร่วมเข้าฟัง
ผู้สื่อข่าวหลายสำนักรายงานว่า ได้มีประชาชนประมาณ 30 คน รวมทั้งผศ.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังการตัดสินคดีนี้
รายงานข่าวในประชาไทระบุว่า ภายหลังที่ศาลมีคำพิพากษาแล้ว ดารณีได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวและประชาชนที่มาว่า "นี่คือยุคของการต่อสู้ทางความคิด" ก่อนจะเดินทางไปยังห้องพิจารณา 908 ต่อทันที เพื่อรับฟังการการสืบพยานจำเลย ในคดีที่พล.อ. สพรั่ง กัลยาณมิตร ฟ้องหมิ่นประมาท ซึ่งศาลได้นัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 16 ก.ย. 52
สื่อไทยพร้อมใจเสนอข่าว - 'ผู้จัดการ' ลงคำตัดสินละเอียดกว่าใคร
การตัดสินคดีนี้ได้รับความสนใจและถูกนำเสนอเป็นข่าวโดยสื่อมวลชนในประเทศจำนวนมาก อาทิ ประชาไท, มติชนออนไลน์, ASTV ผู้จัดการออนไลน์,ThaiENews, ไทยรัฐ, โพสต์ ทูเดย์, คมชัดลึก , MCOT News ฯลฯ
โดยเวบไซต์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์, ได้รายงานข่าวนี้ภายใต้หัวข้อ 'ขัง 18 ปี “นังดา” โอหัง! อาฆาตเบื้องสูง' ซึ่งในเนื้อข่าวได้นำเสนอคำตัดสินคดีอย่างละเอียดกว่าที่ปรากฏในสื่ออื่นๆ ดังนี้
"...ตามฟ้องโจทก์ สรุประหว่างเดือน ม.ค.-มิ.ย.2551 เวลากลางคืน จำเลยขึ้นปราศรัยบนเวทีเสียงประชาชน ณ ท้องสนามหลวง ด้วยการกระจายเสียงทางเครื่องขยายเสียง ท่ามกลางประชาชนที่มาฟังจำนวนหลายคน ซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยกล่าวคำพูดจาบจ้วง ล่วงเกิน เปรียบเทียบและเปรียบเปรย หมิ่นประมาท ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้ายถึงองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ องค์ปัจจุบัน ทำให้ประชาชนเข้าใจว่าทั้งสองพระองค์ทรงเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการชุมนุม ประท้วงของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อจะล้มล้างรัฐบาล และการรัฐประหาร
ทั้งนี้ โดยประการที่น่าจะทำให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสื่อมเสียพระเกียรติยศชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง โดยเจตนาจะทำให้ประชาชนเสื่อมศรัทธา ไม่เคารพสักการะพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เหตุเกิดที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112
โดยศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์แล้ว มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ชนะสงคราม 3 นาย เบิกความว่า เมื่อวันที่ 18 ม.ค.2551 เวลา 21.00 น.และ 24.00 น.จำเลยขึ้นเวทีปราศรัยที่ สนามหลวง โดยพยานทั้งสามเป็นสายสืบฟังการปราศรัย และพบว่า จำเลยกล่าวข้อความดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ก็ได้บันทึกเสียงลงในเครื่องบันทึก เอ็มพี3 และได้บันทึกลงในแผ่นซีดี แล้วนำมาถอดเทป และจำเลยยังขึ้นปราศรัยกล่าวดูหมิ่นอีกในวันที่ 7 และ 13 มิ.ย.2551 ซึ่งได้บันทึกเสียงไว้ แล้วก็ได้แจ้งข้อหาดำเนินคดีจำเลย โดยพยานโจทก์ เบิกความด้วยว่า แผ่นซีดีบันทึกเสียงที่เป็นหลักฐาน พบว่า เป็นเสียงคนๆ เดียวกัน จึงฟังได้ว่าตามวันเวลาดังกล่าวจำเลย ได้ขึ้นเวทีปราศรัย ขณะที่ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวบนเวที ก็พบว่า แม้จะไม่ระบุตัวบุคคลที่ถูกกล่าวถึงอย่างชัดแจ้ง แต่ถ้อยคำที่กล่าวถึง เช่น สัญลักษณ์สีเหลือง สีฟ้า ในการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ ซึ่งเป็นสีประจำวันประสูติของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทำให้เห็นว่าจำเลยกระทำการจาบจ้วงล่วงเกิน โดยทำให้ประชาชนเข้าใจว่าทั้งสองพระองค์สนับสนุนการเคลื่อนไหวของกลุ่ม พันธมิตรฯ ทำให้ทั้งสองพระองค์ต้องเสื่อมเสียเกียรติยศชื่อเสียง
รวมทั้งการกล่าวถึงการรัฐประหาร โดยกล่าวถ้อยคำถึงมือที่มองไม่เห็นหลังสี่เสาเทเวศร์ ซึ่งประชาชนรับรู้อยู่แล้วว่าสี่เสาเทเวศร์ คือ สถานที่ที่เป็นบ้านพักของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี โดยการแต่งตั้งองคมนตรี นั้น ตามรัฐธรรมนูญบัญญัติให้เป็นอำนาจพระมหากษัตริย์ในการแต่งตั้ง ถ้อยคำของจำเลยจึงทำให้ประชาชนเข้าใจว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สนับสนุน พล.อ.เปรม ในการยึดอำนาจจากประชาชน ซึ่งล้วนเป็นเท็จ
โดยแม้ว่าชั้นพิจารณาจำเลย จะเบิกความว่า จดจำถ้อยคำที่กล่าวปราศรัยไม่ได้ว่ามีประเด็นใดบ้าง และจดจำวัน-เวลาไม่ได้ แต่จำเลยก็ไม่ได้นำสืบโต้แย้งว่าไม่ได้กล่าวถ้อยคำที่โจทก์ยื่นฟ้อง ซึ่งแม้ว่าคำพูดของจำเลยไม่บังเกิดผลเพราะไม่มีใครเชื่อ แต่จำเลยก็ไม่อาจพ้นผิด พยานหลักฐานโจทก์จึงรับฟังได้ว่าจำเลยกล่าวคำพูดจาบจ้วง ดูหมิ่น และแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ บรมราชินีนาถ
พิพากษาว่า จำเลยกระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ซึ่งกระทำผิดหลายกรรมต่างกันให้เรียงกระทงลงโทษทุกรรม ให้จำคุก 3 กระทงๆ 6 ปี รวมจำคุก 18 ปี…"
เตรียมย้ายแดน ผอ.เรือนจำเผยอาจให้เป็นโฆษก
ด้านรายงานข่าวในเวบไซต์มติชนออนไลน์ ระบุว่า อังคนึง เล็บนาค ผู้อำนวยการทัณฑสถานหญิงกลาง ได้เปิดเผยในวันเดียวกันว่า ทางเรือนจำจะแยกดารณีออกจากแดนแรกรับไปคุมขังยังแดนนักโทษทั่วไป เพราะถือว่าเป็นนักโทษเด็ดขาด จากนั้นจะให้ทำงานตามโปรมแกรมที่จัดไว้ อาทิ เย็บปักถักร้อย ทำอาหาร งานห้องสมุด งานสาธารณะ รักษาความสะอาดเรือนจำ งานคอมพิวเตอร์ หรืองานโฆษกซึ่งมีหน้าที่ประชาสัมพันธ์เมื่อทางทัณฑสถานจัดกิจกรรม แต่ขณะนี้ยังไม่ทราบว่าดารณีต้องการทำงานประเภทใด ต้องให้เจ้าตัวเป็นผู้ตัดสินใจ แต่ถ้าชอบการพูด อาจจะทำหน้าที่เป็นโฆษกประจำคุก อย่างไรก็ตามต้องได้รับการเสียงโหวตจากเพื่อนผู้ต้องขัง ว่าเหมาะสมหรือไม่
ผอ.ทัณฑสถานฯเปิดเผยเพิ่มเติมว่า สำหรับสภาพจิตใจของดารณีนั้น ขณะนี้ตนเห็นว่าสามารถปรับตัวเข้ากับเพื่อนๆ ได้แล้ว แต่ตนก็เชื่อว่าการฟังคำตัดสินวันนี้ (28 ส.ค.) อาจทำให้รู้สึกเครียดบ้าง เพราะต้องถูกจำคุกถึง 18 ปี โดยทางเรือนจำได้เตรียมจัดเจ้าหน้าที่และนักโทษช่วยดูแลในช่วงนี้แล้ว ซึ่งคาดว่าไม่น่ามีปัญหาอะไร เพราะดารณีเคยอยู่มาแล้วช่วงหนึ่ง น่าจะทำใจได้บ้างแล้ว
ผอ.ทัณฑสถานฯกล่าวด้วยว่า ดารณีเป็นนักโทษชั้นกลาง มีพฤติกรรมดี ไม่ก่อความวุ่นวาย และสามารถได้รับการพิจารณาเลื่อนเป็นนักโทษชั้นดี ชั้นดีมาก และชั้นเยี่ยม ได้เช่นเดียวกับนักโทษรายอื่นๆ ซึ่งการเลื่อนชั้นดังกล่าว คณะกรรมการจะพิจารณาจากความประพฤติขณะต้องโทษ ซึ่งความประพฤติของนักโทษแต่ละคนจะถูกบันทึกไว้เป็นคะแนนสะสม เมื่อถึงวันพิจารณาก็จะนำสมุดที่บันทึกนี้มาพิจารณาประกอบ โดยหากได้เลื่อนเป็นนักโทษชั้นดีก็จะได้ลดวันต้องโทษลง 3 วัน ชั้นดีมากได้ลด 4 วัน ส่วนชั้นเยี่ยมได้ลด 5 วัน
'รอยเตอร์' ชี้ ถือเป็นการใช้กม.กำหราบ
เวบไซต์ ThaiENews ได้เผยแพร่รายงานของสำนักข่าวรอยเตอร์เกี่ยวกับการตัดสินครั้งนี้ ซึ่งรอยเตอร์ได้ชี้ว่า ผลการตัดสินให้ดารณีติดคุก 18 ปีนั้น ถือเป็นการใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพกำหราบฝ่ายต่อต้านรัฐบาล และเสรีภาพในการแสดงออก ในประเทศไทย พร้อมทั้งให้ข้อมูลด้วยว่า ได้มีการพิจารณาคดีนี้เป็นการลับโดยอ้างเหตุผลด้านความมั่นคง ซึ่งเรื่องนี้องค์การนิรโทษกรรมสากลได้เคยทำจดหมายเปิดผนึกคัดค้านมาแล้ว เนื่องจากเห็นว่าจะทำให้การพิจารณาคดีไม่เป็นธรรมต่อจำเลย
ในรายงานเดียวกันของรอยเตอร์ ยังได้อ้างถึงคำให้สัมภาษณ์ของดารณี ที่ระบุว่า เธอไม่มีจุดมุ่งหมายทางการเมืองที่จะเคลื่อนไหวให้ยกเลิกสถาบันกษัตริย์แต่อย่างใด แต่สนับสนุน "ความยั่งยืนของสถาบันกษัตริย์แบบเดียวกับที่ดำรงอยู่ในสหราชอาณาจักรและญี่ปุ่น"
[1] ดูรายละเอียดใน 'กรณีดารณี ชาญเชิงศิลปกุล' 25 มิถุนายน 2552.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)