กรณีช้างไทยวัย 12 ปี ได้ให้กำเนิดลูกน้อยเพศผู้ ที่สวนสัตว์ "ทารองก้า" ประเทศออสเตรเลีย ล่าสุด เมื่อ 19 กรกฎาคม 2552 เวบไซต์ Liberal Thai โดย "chapter 11" ได้นำเสนอรายงานและบทสัมภาษณ์ "การถกเถียงเกี่ยวกับราชวงศ์ ต่อการตั้งชื่อลูกช้าง" ซึ่งแปลและเรียบเรียงจาก " Royal debate over baby elephant's name" ในเวบไซต์ Radio Australia เกี่ยวกับกรณีที่นักวิชาการชาวออสเตรเลียสองคนได้เสนอให้ตั้งชื่อลูกช้างว่า "สุวิชา ท่าค้อ" ตามชื่อ "นักโทษการเมือง" ในประเทศไทย
โดย ในรายงานเดียวกัน มีบทสัมภาษณ์ดร.แอนดรูว์ วอคเกอร์ นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (the Australian National University) หนึ่งในสองผู้เสนอให้ตั้งชื่อดังกล่าวเกี่ยวกับกรณีนี้ด้วย
..........
การถกเถียงเกี่ยวกับราชวงศ์ ต่อการตั้งชื่อลูกช้าง
วันอาทิตย์ 19 กรกฎาคม 2009 — chapter 11
Royal debate over baby elephant’s name
July 17, 2009
ที่มา – ABC radio australia
แปลและเรียบเรียง – chapter 11
นักวิชาการชาวออสเตรเลียสองคน ต้องการตั้งชื่อลูกช้างตามชื่อนักโทษการเมืองในประเทศไทย เพื่อเรียกร้องความสนใจต่อคดีดังกล่าว
ลูก ช้างซึ่งเกิดที่สวนสัตว์ทารองก้าในเมืองซิดนีย์ เป็นเชือกแรกที่เกิดในออสเตรเลีย แน่นอนจะต้องเป็นที่ดึงดูดให้ผู้คนหลั่งไหลเข้าไปชม แต่ควรตั้งชื่อตาม สุวิชา ท่าค้อ ซึ่งถูกจำคุกเนื่องจากหมิ่นกษัตริย์แห่งประเทศไทยหรือ
ผู้ดำเนินรายการ: เซน แลม
ผู้ถูกสัมภาษณ์: ดร.แอนดรูว์ วอคเกอร์ จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (the Australian National University)
คลิกฟังเสียงสัมภาษณ์ภาษาอังกฤษได้จากที่นี่
ดร.แอนดรูว์ วอคเกอร์: สุวิชา ท่อค้อเป็นนักโทษการเมืองในประเทศไทย เขาถูกตัดสินจำคุก ๑๐ ปีในข้อหานำภาพเสียดสีกษัตริย์ภูมิพลลงในอินเตอร์เน็ต เป็นข้อกล่าวหาที่โหดร้ายและทารุณ และเราคิดว่า การตั้งชื่อลูกช้างตามชื่อของเขาจะเป็นวิธีการที่ดี ที่จะเน้นให้เห็นถึงความเป็นห่วงเป็นใยของชาวออสเตรเลียในโชคชะตาของเขา
เซน แลม: สวนสัตว์ทารองก้าคิดอย่างไรกับการที่คุณทำให้เรื่องการตั้งชื่อลูกช้างมาเป็นเรื่องท
างการเมือง
ดร.แอนดรูว์ วอคเกอร์: เรายังไม่ได้รับคำตอบใดๆจากทางสวนสัตว์ แต่ผมคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ควรจำไว้ว่า สำหรับเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะประเทศไทย ที่เป็นเวลานานมาแล้ว ได้ถือว่าช้างเป็นสัญญลักษณ์ของอำนาจและการเมือง และเราพยายามที่จะหยิบเอาสัญญลักษณ์นี้ขี้นมา และทำให้เป็นประเด็นสำคัญอย่างสุภาพ เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
เซน แลม: และแน่ล่ะ ลูกช้างก็อยู่ในคุกเช่นเดียวกับนักโทษการเมือง
ดร.แอนดรูว์ วอคเกอร์: ถูกต้องแล้ว และเรากำลังพยายามที่จะเน้นความจริงที่ว่า ลูกช้างที่อยู่ในคุกและได้รับการดูแลอย่างดีจากสวนสัตว์ทารองก้า ย่อมจะมีชีวิตที่สุขสบายมากกว่าชีวิตของสุวิชา ท่าค้อที่ติดคุกในไทย
เซน แลม: การมีกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในประเทศไทย เพราะคนไทยรักกษัตริย์ของเขาใช่ไหม ซึ่งสำหรับหลายๆคนอาจจะมองว่าสุวิชา ท่าค้อกระทำผิดกฎหมาย และสร้างความไม่พอใจให้กับคนบางคนหรือเปล่า
ดร.แอนดรูว์ วอคเกอร์: การมีกฎหมายหมิ่นฯเพื่อป้องกันไม่ให้มีการถกเถียงในทางการเมือง ในบางหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับราชวงศ์ ไม่ว่าเราจะคิดอะไรก็ตามที่ว่า สุวิชาไม่เคารพหรือหยาบคาย นั่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่การจับเอาคนคนหนึ่งเข้าคุกถึงสิบปีในข้อหาที่ ไม่ให้ความเคารพและอาจจะไม่สุภาพ นับว่าเป็นข้อหาที่ทารุณและรุนแรงเกินไป
เซน แลม: คุณได้รับการสนับสนุนจากสังคมไทยขนาดไหน คุณได้สืบดูบ้างหรือเปล่า
ดร.แอนดรูว์ วอคเกอร์: เราได้รับเสียงสะท้อนกลับมาในด้านบวกจากบล็อกซึ่งเรามีอยู่ และได้มีบล็อกจากนานาชาติได้ช่วยกันเผยแพร่ มีการรณรงค์ให้มีการปรับปรุงกฎหมายหมิ่นฯที่โหดร้ายนี้ในประเทศไทย และเราพยายามที่จะเสนอขอความสนับสนุนจากนานาชาติ ให้กับผู้ที่กำลังรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน ที่ต้องเสี่ยงภัยด้วยตัวเองเป็นอย่างมาก
เซน แลม: คุณได้อธิบายก่อนหน้านี้ว่า การมีกฎหมายหมิ่นฯเพื่อหยุดยั้งไม่ให้ประชาชนทำการวิจารณ์ราชวงศ์ และในไม่กี่ปีมานี้ กฎหมายเดียวกันนี้ได้ถูกปัดฝุ่นขี้นมาใช้ในทางการเมืองใหม่ใช่ไหม
ดร.แอนดรูว์ วอคเกอร์: ถูกแล้วครับ จริงๆแล้วกฎหมายไม่ได้มีไว้เพื่อห้ามการวิจารณ์ราชวงศ์ แต่มีไว้เพื่อห้ามประชาชนวิจารณ์บทบาทของราชวงศ์ในทางการเมือง เราเห็นราชวงศ์เข้ามามีบทบาททางการเมืองได้จากความขัดแย้งเมื่อไม่นานมานี้ ที่ประเทศไทย และราชวงศ์ได้มีบทบาทโดยที่ให้การสนับสนุนกองทัพ ทำการโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในปี ๒๕๔๙ พวกเขาไม่ต้องการให้ประชาชนวิจารณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ และนั่นเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมกฎหมายหมิ่นฯจึงถูกนำขึ้นมาใช้
ที่มา: เวบไซต์ Liberal Thai
English version
Hi, probably our entry may be off topic but anyways, I have been surfing around your blog and it looks
ตอบลบvery professional. It’s obvious you know your topic and you appear fervent about it. I’m developing a
fresh blog plus I’m struggling to make it look good, as well as offer the best quality content. I have
learned much at your web site and also I anticipate alot more articles and will be coming back soon.
Thanks you.
Australiano de Inmigración